หลังขูดหินปูน
หลังขูดหินปูนเพื่อรักษาโรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ เมื่อคุณบ้วนปากอาจจะมีเลือดออกบ้างเล็กน้อย เป็นปกติ และจะมีอาการเสียวฟันได้ เนื่องจากหินปูนที่เกาะจะทำให้เหงือกอักเสบ ร่นเกาะลงไปถึงรากฟัน เมื่อทำการขจัดหินปูนออก ผิวรากฟันจะสัมผัสกับน้ำมากขึ้น

หลังอุดฟันด้วยอมัลกัม
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน ภายใน 24 ชั่วโมง เพราะอาจจะทำให้วัสดุอุดที่ยังไม่แข็งตัวดี อาจหลุดได้
- งดรับประทานของแข็ง ของเหนียวจัด เพราะอาจจะทำให้วัสดุอุดหลุดหรือแตกได้
- หากมีเศษอาหารติดซอกฟัน แนะนำให้ใช้ไหมขัดฟัน หรือแปรงซอกฟัน แทนการใช้ไม้จิ้มฟัน
- หลังจากอุดฟันพบมีอาการเสียวฟัน หรือปวด หรืออาการผิดปกติซี่ที่อุด นานกว่า 3 เดือนไม่มีอาการดีขึ้น ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์
- ควรกลับมาเช็คสุขภาพฟันทุก 6เดือน เพื่อเช็คสภาพรอยที่อุด
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อน-เย็นจัด
- เวลารับประทานอาหาร แนะนำเคี้ยวโดยปิดริมฝีปาก เพื่อป้องกันอาการเสียวฟัน เวลาโดนอากาศเย็น ในบางคนที่ไวต่ออุณหภูมิ
หลังอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันหรือ คอมโพสิต เรซิน
- ภายหลังการอุดฟัน สามารถใช้งาน บดเคี้ยวอาหารได้ปกติ
- กรณีที่อุดฟันซี่หน้า ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน เพราะจะทำให้วัสดุอุดบิ่นหรือแตกได้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานของแข็ง ของเหนียวจัด
- ควรงดรับประทานอาหารประเภท ชา กาแฟ ช็อกโกแลต รวมทั้งบุหรี่ เพราะจะทำให้วัสดุอุดเปลี่ยนสีได้เร็ว
- ในการทำความสะอาดซอกฟัน ควรใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ โดยเฉพาะอุดฟันหน้า เพราะการสะสมของคราบอาหาร มีผลต่อสีวัสดุอุดเปลี่ยนสีได้เร็ว
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อน-เย็นจัด
- เวลารับประทานอาหาร แนะนำเคี้ยวโดยปิดริมฝีปาก เพื่อป้องกันอาการเสียวฟัน เวลาโดนอากาศเย็น ในบางคนที่ไวต่ออุณหภูมิ

หลังถอนฟัน หรือ ผ่าฟันคุด
- กัดผ้าให้แน่นไว้ 1 ชั่วโมง หลังจากการถอนฟันหรือผ่าตัด แล้วคายผ้าทิ้ง หากมีเลือดไหลออกมาอีก ให้กัดผ้าที่สะอาดใหม่อีก 1 ชั่วโมงพร้อมประคบน้ำแข็งนอกปากบริเวณที่ถอน และเลือดน้ำลายให้กลืน ห้ามบ้วนทิ้ง เพราะจะทำให้เลือดหยุดช้าลง
- หากเลือดไม่หยุดไหล ควรใช้น้ำแข็งห่อผ้าหรือกระดาษประคบนอกปากบริเวณที่ถอนฟัน หรือแผลผ่าตัด ห้ามใช้น้ำแข็งอมไว้ในปาก!! และหากอาการยังไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน เช่น เลือดไหลไม่หยุด บวม อักเสบมากกว่าเดิม หรืออาการไม่บรรเทาลง ให้กลับมาพบทันตแพทย์
- หากมีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง และรับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่ง
- ในวันแรกของการถอนฟันหรือผ่า ห้ามบ้วนน้ำ หรือถ้าจำเป็นควรบ้วนเบาๆ
- สามารถแปรงฟันได้ แต่ควรระวังอย่าให้โดนแผลที่ถอน
- ห้ามดูดแผลหรือแคะหรือ แกะแผลที่ถอน
- ห้ามดื่มสุรา ห้ามสูบบุหรี่ อาหารรสจัด ร้อนจัดเป็นเวลา 3 วัน ควรจะรับประทานอาหารอ่อนๆในช่วงแรก
- ห้ามออกกำลังกายใน 24 ชั่วโมง
- กรณีที่เป็นแผลผ่าตัดหรือแผลผ่าฟันคุด ควรประคบด้วยเย็นใน 24 ชั่วโมงแรก ภายหลังจากผ่าตัด 1 วัน จะทำให้อาการบวมยุบเร็วขึ้น และกลับมาตัดไหมภายหลัง ประมาณ 7 วัน ไม่ควรเกิน 10 วัน หรือตามที่ทันตแพทย์กำหนด
หลังรักษารากฟัน
- หลังรักษารากฟันใหม่ ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าเหงือกบริเวณที่รักษารากฟันนิ่มลง และโดยเฉพาะในครั้งแรกอาจจะมีอาการเจ็บใน 2-3 วันแรกและอาการจะค่อยๆหายไป ซึ่งหากมีอาการปวดทนไม่ไหวทานยาระงับแก้ปวดทั่วไป เช่น พาราเซตามอล หรือ ไอบูโพรเฟน เป็นต้น
- ไม่ควรรับประทานอาหารในทันที จนกว่าอาการชาที่ใช้จะหมดไป
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานซี่ฟันที่รักษารากฟัน เพราะอาจจะทำให้แตกหรือหักได้
- กรณีที่วัสดุอุดฟันชั่วคราวหลุด ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์ทันที
หลังผ่าตัดแต่งเหงือก–
- ถ้าเลือดยังไม่หยุดไหลให้เปลี่ยนผ้าก๊อซและกัดต่อ
- ห้ามดูดแผล หรือเขี่ยแผล เพราะจะทำให้แผลอักเสบเพิ่มได้
- ในการทำความสะอาด ใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือเช็ดเบาๆที่แผล
- ตัดไหมตามที่ทันตแพทย์กำหนด
- ในกรณีที่มีการใส่เครื่องมือชนิดถอดได้ในปาก สามารถนำออกมาทำความสะอาดโดยการทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่และใส่กลับไปในช่องปากหลังจากทำความสะอาดเสร็จ
- หากมีอาการปวดแผลผ่าตัด สามารถทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการได้ ยกเว้นยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกได้
- หลีกเลี่ยงทานอาหารแข็ง เน้นอาหารเคี้ยวง่าย อาหารอ่อน ประมาณ 1 สัปดาห์
หลังใส่ครอบฟัน/สะพานฟัน (ฟันปลอมชนิดติดแน่น)
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง 24 ชั่วโมงหลังยึดสะพานฟัน/ครอบฟัน
- ในการรับประทานอาหารช่วงแรก ควรเริ่มทานอาหารอ่อนก่อนจนกว่าจะคุ้นเคยกับครอบฟัน/สะพานฟัน
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง จะช่วยลดให้เกิดอาการบวมได้
- ในผู้ป่วยบางรายหลังใส่ครอบฟัน/สะพานฟัน อาจเกิดอาการเสียวฟัน ซึ่งอาการจะสามารถหายไปได้เองและควรหลีกเลี่ยงดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน-เย็นจัด และมีกรดสูง เลือกใช้ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้ แต่หากอาการเหล่านี้ยังไม่ดีขึ้น ให้กลับมาพบทันตแพทย์
- การแปรงฟัน ควรแปรงวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันโดยเฉพาะบริเวณที่ทีการครอบ และใช้น้ำยาบ้วนปากที่ต่อต้านแบคทีเรียอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- หากหลังจากใส่ครอบฟัน/สะพานฟัน รู้สึกที่ครอบหลวม หลุด มีรอยแตก มีอาการแพ้วัสดุที่ใช้ครอบ เสียวฟันมากหลายวัน ให้กลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ
- ควรนัดตรวจกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
หลังใส่ฟันปลอม (ชนิดถอดได้)
ผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมช่วงแรกๆอาจะปรับตัวยังไม่ค่อยได้ จะมีความรู้สึกไม่สบายในช่องปาก ในเรื่องการพูด การรับประทานอาหาร ต้องค่อยๆเริ่มฝึกให้ชิน แต่หากมีอาการใส่แล้วหลวม ใส่แล้วเจ็บ หรือแตก มีรอยแตก มีอาการะคายเคือง ให้กลับมาพบทันตแพทย์ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรจะปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้น เพื่อยืดอายุการใช้งานฟันปลอมได้นานขึ้น
- ห้ามใส่ฟันปลอมนอน เพื่อป้องกันเหงือกอักเสบและพักการกดทับเหงือก
- หลังถอดฟันปลอม ควรนำแช่น้ำในน้ำสะอาด(อุณหภูมิปกติไม่ร้อน ไม่เย็น) โดยในการแช่ ต้องแช่ฟันปลอมให้จม เพื่อป้องกันฟันปลอมแห้งและหดตัว
- ควรหลีกเลี่ยงทานของแข็ง ของเหนียว
- ไม่ควรใช้ฟันหน้ากัด บดอาหาร เพราะจะทำให้ฟันปลอมหลุดได้ง่าย
- ทำความสะอาดฟันปลอมทุกครั้งหลังทานอาหาร โดยใช้แปรงขนนุ่มใส่ยาสีฟัน(เป็นครีม) แปรงขัดให้ทั่ว อย่าแปรงแรงเกินไปเพราะอาจจะทำให้ฟันหลุดออกมาได้ หากกรณีที่ใช้ฟันปลอมมานาน จนเกิดคราบสีน้ำตาล ล้างไม่ออก อาจจะทำให้เกิดแผลหรือเชื้อราในช่องปากได้ ใช้เม็ดฟู่สำหรับแช่ทำความสะอาดฟันปลอม หาซื้อได้ตามร้านขายยา คลินิกทันตกรรม
- ในช่วงที่เริ่มใส่ฟันปลอม ปีแรก แนะนำมาตรวจฟันตามที่ทันตแพทย์นัดและหลังจากนั้นปีละครั้ง เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้น ภายในช่องปากเราจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ฟันปลอมหลวม เคี้ยวอาหารได้ลำบาก เป็นต้น
