เครื่องมือต่าง ๆ ในการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหา ความรู้ใหม่ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้ายคือ การเรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
                    1.เครื่องมือที่ช่วยในการ “เข้าถึง” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit มักเป็นแบบทางเดียว
                    2.เครื่องมือที่ช่วยในการ “ถ่ายทอด” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit อาศัยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
          ในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่งคือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือชุมชน นักปฏิบัติ (Communityof Practice : CoP)

  • เครื่องมือที่ช่วยในการเข้าถึงความรู้ (Access tools) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและเข้าถึงความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตัวอย่างเครื่องมือในกลุ่มนี้ ได้แก่
    • ฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge database)
    • บล็อก (Blog)
    • โซเชียลมีเดีย (Social media)
  • เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดความรู้ (Dissemination tools) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเผยแพร่และแบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น ตัวอย่างเครื่องมือในกลุ่มนี้ ได้แก่
    • ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice)
    • เวิร์กช็อป (Workshop)
    • สัมมนา (Seminar)

เครื่องมือการจัดการความรู้ (Knowledge Management Tools) หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการรวบรวม บันทึก จัดการ เผยแพร่ และใช้ความรู้ในองค์กร เครื่องมือเหล่านี้มีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

  • เครื่องมืออื่นๆ
    • การศึกษาดูงาน (Study tour)
    • การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (AAR)
    • การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)
    • เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling)
    • การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรียสาธก
    • เวทีเสวนา หรือสุนทรียสนทนา (Dialogue)
    • เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
    • การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
    • มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)
    • การสอนงาน (Coaching)
    • การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
    • ฟอรัม ถาม – ตอบ (Forum)
    • บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)
    • เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)
    • การจัดเก็บความรู้ใน Web board, Intranet
    • R2R, การนำเสนอผลงานวิชาการในที่ประชุมวิชาการ
    • คู่มือการปฏิบัติงาน (Standard Operation Procedure: SOP)
    • การเล่าเรื่องพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Coffee meeting)

ตัวอย่างเครื่องมือ Knowledge Management ในองค์กร

Search