หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564

Thai                            หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก
English                        Doctor of  Philosophy  Program in Oral  Health  Sciences

Full Title     Thai            ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก)
                English        Doctor of Philosophy (Oral Health Sciences)

Abbreviation   Thai        ปร.ด. (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก)
                    English     Ph.D. (Oral Health Sciences)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566 (ใช้สำหรับนักศึกษา รหัส 66 เป็นต้นไป)

Thai                            หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก (หลักสูตรนานาชาติ)
English                        Doctor of Philosophy Program in Oral Health Sciences (International program)

Full Title Thai                ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก)
            English            Doctor of Philosophy (Oral Health Sciences)

Abbreviation Thai          ปร.ด. (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก)
                  English      Ph.D. (Oral Health Sciences)

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564
PLO1 ปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม หลักจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่
PLO2 วิพากษ์และประเมินคุณค่าข้อมูลทางวิชาการอย่างเป็นระบบเพื่อนำมาพัฒนาตนเองและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
PLO3 ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นแบบบูรณาการในบทบาทของทั้งผู้นำและผู้ตามในทีมภายใต้วัฒนธรรมองค์กร
PLO4 มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลที่ทันสมัยสื่อสาร และนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
PLO5 สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เป็นแก่นในสาขาวิชาการและวิชาชีพ
PLO6 สามารถบริหารจัดการ ออกแบบและดำเนินการวิจัยในเชิงบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม
PLO7 สามารถใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษในการสื่อสาร นำเสนอ อภิปราย ได้อย่างมีคุณภาพ

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566 (หลักสูตรนานาชาติ)
(ใช้สำหรับนักศึกษา รหัส 66 เป็นต้นไป)
PLO1 ปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม หลักจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่
PLO2 วิพากษ์และประเมินคุณค่าข้อมูลทางวิชาการอย่างเป็นระบบเพื่อนำมาพัฒนาตนเองและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
PLO3 ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นแบบบูรณาการในบทบาทของทั้งผู้นำและผู้ตามในทีมภายใต้วัฒนธรรมองค์กร
PLO4 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัย สื่อสารและนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
PLO5 สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เป็นแก่นในสาขาวิชาการและวิชาชีพ
PLO6 สามารถบริหารจัดการ ออกแบบและดำเนินการวิจัยในเชิงบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม
PLO7 สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร นำเสนอ อภิปราย ได้อย่างมีคุณภาพ

 

ศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.ชิดชนก  ลีธนะกุล   E-mail : chidchanok.l@psu.ac.th
*ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร/คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์*
สาขาวิชาทันตกรรมป้องกัน  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โทร. 0-7428-7601

รองศาสตราจารย์  ดร.ทพ.ไชยรัตน์  เฉลิมรัตนโรจน์  E-mail : chairat.c@psu.ac.th
สาขาวิชาทันตกรรมป้องกัน  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โทร. 0-7428-7601

ศาสตราจารย์ ดร.รวี  เถียรไพศาล  E-mail : rawee.t@psu.ac.th
สาขาวิชาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โทร. 0-7428-7681

ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 

 แบบ 1.1
1)  สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ                       

2) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
3) สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง  สำหรับนักวิจัยดุษฎีบัณฑิต ผลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Web of Scienceอย่างน้อย 2 เรื่อง โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษาประจำคณะ
4)  ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษา ที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอก

แบบ 1.2
1) สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
2) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
3) สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
4) ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษา ที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอก

แบบ 2.1
1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
2) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
3) สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 1 เรื่อง
4) ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอก

แบบ 2.2
1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ และ
2)  เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้ และ
3)  สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 1 เรื่อง
4)  ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอก