-
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2561 (นศ.รหัส 61-66)
-
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2567 (นศ.รหัส 67-72)
-
ข้อมูลหลักสูตร/แผนการศึกษา
-
PLOs
-
ค่าธรรมเนียม
-
การอุทธรณ์/ร้องเรียน
UPDATE 15 – 02 -2567 : 09:00:00
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2561
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ชื่อย่อ ท.บ.
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Doctor of Dental Surgery ชื่อย่อ D.D.S.
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ โดยจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการองค์ความรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาและการวิจัยเป็นฐาน การใช้สถานการณ์จำลอง การฝึกปฏิบัติในคลินิกจากสถานการณ์จริง เพื่อให้ได้ทันตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะทางทันตกรรม มีคุณธรรมและจริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถบูรณาการความรู้และทักษะทางวิชาชีพและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการดูแลรักษา ส่งเสริมและป้องกันโรคในผู้ป่วยทางทันตกรรมแบบองค์รวม ตระหนักถึงความปลอดภัยและสิทธิของผู้ป่วย ให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน ตลอดจนพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่สำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 มีทักษะการสื่อสาร การสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แสวงหาความรู้ใหม่ คิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นตามบริบทได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม คำนึงถึงประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและพอเพียง
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาเพื่อปริญญาทันตศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2560 อ่านเพิ่มเติม
โครงสร้างหลักสูตร
แผนการศึกษา (รายวิชาที่ต้องลงทะเบียนตามชั้นปี)
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.จุฑาทิพย์ สมิตไมตรี
- รองศาสตราจารย์ ทพญ.สายใจ ตัณฑนุช
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทพญ.เสมอจิต พิธพรชัยกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทพญ.มะลิ นิยมบัณฑิต
- อาจารย์ ดร.ทพ.จิรายุ เรืองรุ่งโสม
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2561
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
PLO1 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพทางการแพทย์ (Biomedical Science) และการแพทย์พื้นฐาน (Basic Medicine) ที่เกี่ยวข้องกับงานทางทันตแพทยศาสตร์
PLO2 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานวิชาชีพทันตกรรมระดับปัจเจกบุคคลและชุมชนตามหลักสุขภาพองค์รวม
2.1 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการใช้ยาและสารเคมีสำหรับงานทันตกรรม
2.2 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการเลือกใช้วัสดุทางทันตกรรม
2.3 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการวินิจฉัย ป้องกันและรักษาโรคฟันผุ โรคปริทันต์ และโรคของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน
2.4 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการวินิจฉัย ให้การรักษาที่ไม่ซับซ้อนสำหรับโรคและความผิดปกติของเนื้อเยื่อในช่องปากทั้งเนื้อเยื่อแข็งและ
เนื้อเยื่ออ่อน (นอกเหนือจากโรคฟันผุ โรคปริทันต์และโรคของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน) รวมถึงการติดเชื้อและภยันตรายที่เกิดขึ้นในบริเวณช่องปาก ฟัน กระดูกขากรรไกรและใบหน้า
2.5 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการให้การรักษาความผิดปกติที่ไม่ซับซ้อนของกระดูกขากรรไกร ใบหน้า การสบฟันและระบบบดเคี้ยว รวมถึงการให้แนวทางป้องกัน
2.6 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการบูรณะและฟื้นฟูสภาพฟันและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
2.7 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพในช่องปากและการป้องกันโรคในช่องปากทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและชุมชน
PLO3 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในคลินิก และมีความรู้ความสามารถในการประเมินผู้ป่วยทางด้านการแพทย์และทันตกรรม วินิจฉัย วางแผนการรักษาโรคและความผิดปกติของ ช่องปาก กระดูกขากรรไกร ใบหน้าและระบบบดเคี้ยว รวมทั้งการส่งต่อผู้ป่วยตลอดจนการดูแลรักษาทางทันตกรรมพร้อมมูล (Comprehensive Dental Clinic) ในระดับปัจเจกบุคคล
PLO4 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานวิชาชีพทันตกรรมอย่างมีคุณธรรมตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
PLO5 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการวิจัย
PLO6 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล การใช้คอมพิวเตอร์และพัฒนาตนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
PLO7 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารเพื่อการดำรงชีวิต และใช้ภาษาอังกฤษได้ตามความจำเป็นแห่งวิชาชีพ
PLO8 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานทางทันตกรรม
PLO9 บัณฑิตทันตแพทย์มีความรู้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข และเข้าใจบทบาททางสังคมได้อย่างเหมาะสม
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2567
-
ข้อมูลหลักสูตร/แผนการศึกษา
-
PLOs
-
การรับเข้าศึกษา
-
ค่าธรรมเนียม
-
การอุทธรณ์/การร้องเรียน
UPDATE 15 – 02 -2567 : 09:00:00
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2567
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ชื่อย่อ ท.บ.
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Doctor of Dental Surgery ชื่อย่อ D.D.S.
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหา และการวิจัยเป็นฐาน การใช้สถานการณ์จำลอง การฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้ ตลอดจนพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่สำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร การสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แสวงหาความรู้ใหม่ คิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นตามบริบทได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม คำนึงถึงประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ทันตแพทย์ที่มีความรู้ มีคุณธรรมและจริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถบูรณาการความรู้และมีทักษะทางวิชาชีพและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดูแลรักษา สร้างเสริมสุขภาพช่องปาก และป้องกันโรคในผู้ป่วยแบบองค์รวม
แผนการศึกษา (รายวิชาที่ต้องลงทะเบียนตามชั้นปี)
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.จุฑาทิพย์ สมิตไมตรี
- รองศาสตราจารย์ ทพญ.สายใจ ตัณฑนุช
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทพญ.เสมอจิต พิธพรชัยกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทพญ.มะลิ นิยมบัณฑิต
- อาจารย์ ดร.ทพ.จิรายุ เรืองรุ่งโสม
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2567
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
PLO1 สื่อสารและเลือกใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
1.1 สื่อสารโดยใช้วัจนภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และอวัจนภาษาได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงความต้องการและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของบุคคล
1.2 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสื่อสาร และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO2 ตรวจ ประเมินผู้ป่วยทางด้านการแพทย์และทางทันตกรรมวินิจฉัย และวางแผนการรักษาทางทันตกรรมโดยใช้หลักสุขภาพองค์รวมได้
2.1 ประยุกต์ใช้ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ศาสตร์ทางการแพทย์และทันตแพทย์เพื่อตรวจและประเมินผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาชีพ
2.2 ซักประวัติและตรวจผู้ป่วย รวมถึงเลือกวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางภาพรังสี และการตรวจอื่น ๆ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วย พร้อมทั้งแปลผลจากข้อมูลดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง
2.3 ประเมินสภาวะผู้ป่วยทั้งทางการแพทย์ ทางทันตกรรม บริบททางสังคม และเศรษฐานะ เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคและการวางแผนการรักษา
2.4 วินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคในช่องปาก ขากรรไกรและใบหน้า ความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนและเนื้อเยื่อแข็งในช่องปาก ความผิดปกติที่ไม่ซับซ้อนของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า การสบฟันและระบบบดเคี้ยว การติดเชื้อและภยันตรายบริเวณช่องปาก ฟัน กระดูกขากรรไกรและใบหน้า ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม
PLO3 ดูแลรักษาทางทันตกรรมแบบองค์รวม ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม
3.1 ให้การรักษาทางทันตกรรม ฟื้นฟูสภาพในช่องปากตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมและเป็นระบบตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยท่วงท่าที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ทางทันตแพทย์
3.2 จัดการพฤติกรรม รวมถึงภาวะความเจ็บปวด ความเครียด และความวิตกกังวลของผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้
3.3 จัดการภาวะแทรกซ้อนและภาวะฉุกเฉินทางทันตกรรม รวมถึงการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานตามแนวทางปัจจุบัน
3.4 ใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลรวมทั้งจัดการผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาได้
3.5 ดูแลผู้ป่วยหลังการรักษา ได้แก่ การให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วย การติดตามและประเมินผลการรักษา
PLO4 สร้างเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในช่องปาก ทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนโดยใช้หลักสุขภาพองค์รวม และการปฏิบัติงานร่วมสหวิชาชีพ
4.1 สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากทั้งระดับบุคคลและครอบครัวโดยใช้หลักสุขภาพองค์รวม ทั้งในแบบปฏิบัติงานเดี่ยว หรือปฏิบัติงานร่วมสหวิชาชีพได้
4.2 ประเมินสถานการณ์สุขภาพช่องปาก วางแผนสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในช่องปากของชุมชน บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และระบบบริการสุขภาพร่วมกับสหวิชาชีพ
PLO5 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทางการวิจัยและนวัตกรรม มาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
5.1 สืบค้นข้อมูล ศึกษาค้นคว้า ติดตามวิทยาการจากแหล่งต่าง ๆ โดยเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง
5.2 วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์แวดล้อม และนำมาใช้ประกอบการแก้ปัญหาได้ โดยใช้หลักการหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based principle)
5.3 ดำเนินโครงการวิจัยได้
PLO6 บริหารและพัฒนาคุณภาพองค์กรที่ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร
6.1 วางแผนและบริหารทรัพยากรมนุษย์ เงิน เวลา และวัสดุครุภัณฑ์ในหน่วยที่ตนเองรับผิดชอบได้
6.2 ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพองค์กรที่ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ร่วมงานได้
6.3 ควบคุมความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงาน รวมถึงการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
6.4 เขียนและดำเนินงานด้านเอกสารต่าง ๆ ของหน่วยงาน เช่น เวชระเบียนผู้ป่วย ใบยินยอมรับการรักษา เอกสารการเงิน เอกสารส่งต่อได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงพยาบาลหรือองค์กรในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
PLO7 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรมในการปฏิบัติงานได้
7.1 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการตรวจและวินิจฉัยโรคทางทันตกรรมได้
7.2 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูทางทันตกรรมได้
Add your content here…
