WHO Collaborating Centre Study  Community based interventions  for improving the oral health of school children in Southern Thailand 2010 

ทีมวิจัย ผศ.ดร.ทพญ. จรัญญา หุ่นศรีสกุลและคณะ

เป็นการศึกษาการใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสารโปรตีน (อาร์จินิน) และฟลูออไรด์ 1,500 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน) ซึ่งปริมาณของฟลูออไรด์เข้มข้นกว่าระดับที่ใช้อยู่ในประเทศไทย โดยการใช้ยาสีฟันนี้ตามคำแนะนำของโครงการ จะเกิดประสิทธิภาพที่สูงและจะไม่มีผลเสียใดๆ ทั้งนี้การทำให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดนั้นมีสมมติฐานว่า ควรมีผู้ปกครองและทางโรงเรียนร่วมกันดูแลการใช้   ยาสีฟันมากกว่าปล่อยให้เด็กแปรงฟันเองโดยตรง ดังนั้นโครงการนี้ จึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเปรียบเทียบว่า กลุ่มศึกษา ที่มีการใช้ยาสีฟันนี้ภายใต้การดูแลของทางโรงเรียนและทางผู้ปกครอง จะมีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่มีการดูแลสุขภาพช่องปากในโรงเรียนในระบบปกติที่มีอยู่หรือไม่ ทั้งนี้ทางโครงการวิจัยขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนของท่านได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่มศึกษา( นวัตกรรมใหม่ )         

กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการวิจัย

            1.1 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล อายุ 4-6 ปี ในปีการศึกษา 2553 ในโรงเรียนเทศบาลทุกโรงเรียน โรงเรียนอนุบาลเอกชน (บางโรงเรียน) ในอำเภอเมืองและอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และต่อเนื่องจนสิ้นสุดการศึกษาในปีการศึกษา 2555 (ดำเนินการวิจัยต่อเนื่อง 2 ปีนับจากช่วงที่มีการเริ่มกิจกรรมในโรงเรียน ซึ่งจะสิ้นสุดโดยประมาณ พ.ค. 2556)

            1.2 ผู้อำนวยการ คุณครูและบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลนักเรียนในโครงการวิจัย

            1.3 ผู้ปกครองของนักเรียนในระดับชั้นที่เข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่องจนสิ้นสุดโครงการ 2 ปี

วัตุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ

            2.1 ศึกษาประสิทธิภาพของมาตรการส่งเสริมป้องกันในระดับชุมชน ที่พัฒนาขึ้นใหม่ต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเปรียบเทียบกับโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในรูปแบบเดิมของโรงเรียนในโครงการวิจัยฯ โดยเปรียบเทียบในประเด็น ต่อไปนี้

•          เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของอุบัติการณ์ในการเกิดฟันผุ

•          เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก

2.2 ประเมินกระบวนการของการพัฒนามาตรการส่งเสริมป้องกันในระดับชุมชน ในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนในโครงการวิจัยฯ

2.3 ประเมินการเปลี่ยนแปลงเชิงกระบวนการ (Process evaluation) ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามาตรการส่งเสริมป้องกันในระดับชุมชน ในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน ได้แก่

•          ความรู้ ทัศนคติ การดูแลนักเรียนในโครงการวิจัยฯในการดูแลสุขภาพช่องปากของคุณครูที่เกี่ยวข้อง

•          ความรู้ ทัศนคติ การดูแลนักเรียนในโครงการในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครอง

•          การมีส่วนร่วมของโรงเรียนในภาพรวมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนในโครงการวิจัยฯ

ความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ ในการร่วมโครงการการพัฒนาการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนในโครงการวิจัยฯในระดับชุมชน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยนี้

  • การทราบถึงผลการใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ความเข้มข้น 1500 ส่วนต่อล้านส่วนและส่วนผสมของ 1.5% Arginine ภายใต้การควบคุมการแปรงฟันโดยคุณครูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงอุบัติการณ์ในการเกิดฟันผุในกลุ่มวัยนี้ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมหรือไม่นั้น จะทำให้เกิดข้อเสนอแนะใหม่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาในอนาคตของประเทศไทยและประเทศอื่นๆที่มีบริบทใกล้เคียงกันได้ ตลอดถึงเกิดองค์ความรู้ในกระบวนการพัฒนาโครงการการพัฒนาสุขภาพช่องปากในระดับชุมชนในรูปแบบที่เน้นการมีส่วนร่วมในชุมชน เพื่อประยุกต์ใช้ต่อไปในวงการทันตสาธารณสุข
  • นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งในกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม จะได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและการแนะนำเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพช่องปาก และส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้รับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน
  • นักเรียน คุณครู และผู้ปกครองในกลุ่มศึกษามีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม อันเป็นพื้นฐานที่ดีในอนาคตตลอดถึงได้รับแปรงสีฟันและยาสีฟันสำหรับนักเรียนตลอดระยะเวลาการวิจัย
  • โรงเรียนในกลุ่มศึกษา จะได้รับสื่อปละการพัฒนาศักยภาพในการให้ทันตสุขศึกษาและความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน อันจะเอื้อต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนต่อไปในอนาคต

Search