สถานวิจัยโรคที่พบบ่อยในช่องปากและวิทยาการระบาดได้รับความเห็นชอบ จากที่ประชุมคณบดีของคณะทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2552 ได้มีมติให้จัดตั้งและดำเนินการ ซึ่งจากการดำเนินงานและการได้รับการสนับสนุนในการจัดตั้งสถานวิจัยดังกล่าว ทำให้สามารถสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มวิจัย และสร้างนักวิจัยใหม่จำนวนหนึ่งของคณะทันตแพทยศาสตร์ จากการดำเนินงานมา 10 ปี ได้สร้างผลงานตีพิมพ์ การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการผลิตบัณฑิต ได้ตามเป้าหมายในระดับดี
ประวัติความเป็นมา
จุดแข็ง (Strength)
ที่ผ่านมาได้มีการรวมกลุ่มนักวิจัยสหสาขาของคณะทันตแพทยศาสตร์ มาทำงานวิจัยร่วมกันและมีผลงานระดับหนึ่ง การจัดตั้งเป็นสถานวิจัยโรคที่พบบ่อยในช่องปากและวิทยาการระบาด ทำให้การร่วมกลุ่มเข้มแข็ง มีภารกิจที่ชัดเจนขึ้น และเป็นศูนย์รวมให้นักวิจัยอื่น ๆ ที่สนใจงานด้านนี้เข้ามาร่วมได้ง่ายขึ้น นักวิจัยในกลุ่มส่วนหนึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัย ได้รับทุนสนับสนุนทั้งภายนอกและภายใน และต่างประเทศด้วย มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง นักวิจัยส่วนหนึ่งมีประสบการณ์ในการการทำงานทางวิทยาการระบาด มีความเชี่ยวชาญในพื้นที่และชุมชน ทำให้สามารถเข้าถึงพื้นที่และชุมชนได้ดี อีกทั้งมีความพร้อมในเรื่องของห้องปฏิบัติการและครุภัณฑ์ที่จะใช้ทำวิจัยในเชิงลึก นักวิจัยอีกส่วนเป็นนักวิจัยใหม่เพิ่งสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกและปริญญาโท การมีศูนย์วิจัยทำให้มีโอกาสได้พัฒนานักวิจัยใหม่ด้วย
โอกาส (Opportunity)
เสริมศักยภาพของบุคลากรในการทำวิจัยเป็นทีม มีลักษณะสหสาขา และครบวงจร สามารถนำไปใช้ป้องกันโรคในชุมชนได้อย่างเป็นจริง นอกจากนี้ทำให้การวิจัยสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์
- สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับโรค ที่พบบ่อยในช่องปาก
- 2. พัฒนาและหาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคในช่องปากที่พบบ่อย
- สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่โดยการทำงานเป็นทีมและกระบวนการบัณฑิตศึกษา
- เป็นแหล่งเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในช่องปากและวิทยาการระบาดในภาคใต้
ทิศทางการวิจัย
ศูนย์วิจัยโรคที่พบบ่อยในช่องปากและวิทยาการระบาด เป็นหน่วยวิจัยชั้นนำระดับประเทศในการวิจัยโรคที่พบบ่อยในช่องปากและวิทยาการระบาดโดยเน้นการเข้าใจปัญหาในท้องถิ่นภาคใต้เพื่อ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ท้องถิ่นโดยงานวิจัยจะเน้นดังนี้
6.1 ศึกษาความชุกของโรคและความผิดปกติที่พบบ่อยได้แก่ ฟันผุ โรคปริทันต์ โรคติดเชื้อในช่องปากอื่น ๆ และหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงตลอดจนพฤติกรรมหรือทัศนคติ ในการเกิดโรคและความผิดปกตินั้น ๆ
6.2 หาแนวทางในการป้องกันและรักษาโรคหรือความผิดปกตินั้น ๆ โดย การค้นหา สารธรรมชาติ สารเคมี และจุลินทรีย์ เพื่อการพัฒนารูปแบบ การใช้สารธรรมชาติ สารเคมี และจุลินทรีย์ ในการแก้ปัญหาโรคหรือความผิดปกตินั้นๆ
6.3 เพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการการป้องกันโรคและปัญหาที่พบบ่อยในช่องปาก เช่นการเคลือบหลุมและร่องฟัน โดยใช้การผสมผสาน ข้อมูลทางวิทยาการระบาด เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ
6.4 พัฒนาวัสดุทางทันตกรรมและเทคนิคในการนำไปใช้งานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อยืดอายุการใช้งานของวัสดุทางทันตกรรมและฟันธรรมชาติ