ประเภทวารสาร
  • Open Access Journal
    • สามารถเข้าถึงบทความออนไลน์เวอร์ชั่นเดียวกันกับวารสาร (Final Version) โดยเสรี และไม่มีค่าใช้จ่าย
    • ผู้เขียนมีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ (Article Processing Charge)
    • ไม่มีการกำหนดสิทธิ์ในการใช้บทความ
  • Subscription
    • การเข้าถึงบทความต้องมีค่าใช้จ่ายจากการบอกรับสมาชิกรายปี หรือ จ่ายจ่าดาวน์โหลดเฉพาะบทความที่ต้องการ
    • ผู้เขียนไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ
    • วารสารหรือสำนักพิมพ์ เป็นเจ้าของสิทธิ์ในบทความ
    • มีการกำหนด หรือ ขอบเขตการนำบทความไปใช้
  • Hybrid
    • เป็นวารสารประเภท Subscription Journal แต่มีทางเลือก (option)ให้ผู้เขียนเลือก ให้บทความของตัวเองเป็น Open Access
    • ผู้เขียนมีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ (Article Processing Charge)
วารสาร Open Access
  • สามารถเข้าถึงบทความทางออนไลน์ได้โดยเสรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • ขอบเขตสิทธิ์ในการจัดเก็บบทความ หรือ การใช้เนื้อหามีข้อจำกัดน้อยหรืออาจไม่มีเลย
  • ไม่มีการกำหนดขอบเขตหรือกำจัดสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ในการนำบทความไปใช้ต่อ ซึ่งเป็นประโยชน์กับ
    • ผู้เขียน (Author) สามารถจัดเก็บหรือเผยแพร่บทความให้ดาวน์โหลด หรือ เข้าดูเนื้อหาออนไลน์ในบทความรูปแบบเดียวกับที่ลงตีพิมพ์ในบทความ
    • ผู้อ่าน (Reader) สามารถเข้าถึงบทความทางออนไลน์ได้โดยเสรี ซึ่งเป็นประโยชน์ใช้เป็นแหล่งในการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยต่อยอดทางวิชาการในสาขาตัวเองต่อไป
    • ผู้ให้ทุนวิจัย (Funder) มุ่งเน้นให้ผลงานวิชาการที่ให้การสนับสนุน เข้าถึงได้ง่าย และมีการนำผลงานวิจัย

ประเภทวารสาร Open Access

Gold Open Access
– บทความเวอร์ชั่นเดียวกันกับวารสาร (Final Version) สามารถเข้าถึง ดาวน์โหลดและนำไปใช้ต่อ (reuse)อย่างเสรีไม่จำกัดสิทธิ์ ระยะเวลาและไม่มีค่าใช้จ่าย
– สิทธิ์ของบทความ ยังคงเป็นผู้เขียน (Author) ในการจัดเก็บหรือมีอิสระในการเผยแพร่
– สามารถเเลือกตีพิมพ์บทความได้ที่ ประเภทวารสาร Open Access วารสารประเภท Hybrid
Green Open Access
– สามารถเข้าถึงดาวน์โหลด หรือจัดเก็บบทความได้เฉพาะเวอร์ชั่นที่วารสารหรือสำนักพิมพ์กำหนด เช่น
Pre-print หรือ Post Print Version ซึ่งไม่ใช่เวอร์ชั่นเดียวกันกับที่ลงพิมพ์อยู่ในวารสาร (Final Version) สามารถตรวจสอบได้จาก https://v2.sherpa.ac.uk/remeo
– ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของวารสาร หรือ สำนักพิมพ์

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
  • ฐานข้อมูลกลุ่ม Ciation
  • ฐานข้อมูลที่ใช้ตรวจวารสาร Open Access
ฐานข้อมูลที่ใช้ดัชนีชี้วัดคุณภาพ
  • Journal Citation Report
    • Webofknowledge.com (ใช้เฉพาะภายใต้เครือข่ายอินเตอร์ของมหาวิทยาลัย หรือผู้ใช้สามารถลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้เพื่อเข้าใช้ JCR นอกเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย)
    • เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Clarivate
    • ค่าที่ใช้ในการประเมินคือ
      • Journal Impact Factor คือ ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งที่ได้รับการอ้างอิงต่อบทความจากวารสารที่ตีพิมพ์ในสองปีล่าสุด
      • JIF Quartile ใช้เพื่อการประเมินคุณภาพและจัดอันดับวารสารที่มีค่า Impact Factor ของวารสารในแต่ละสาขาไม่เท่ากัน
  • Scimago, Citescore
  • Google Scholar
  • TCI
ดัชนีวัดคุณภาพวารสารเพื่อการตีพิมพ์
  • ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญในเรื่องการนำวารสารหรือบทความของวารสารหรือบทความของวารสารไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดงานวิจัย หรือพัฒนาจนนำไปสู่การค้นพบองค์ความรู้ใหม่ อย่างแพร่หลาย หรือ มีอิทธิพลในสาขานั้น โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลการอ้างอิงของวารสารนั้น และใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมาช่วย และสร้างเป็นเครื่องมือที่แตกต่างกันออกมา
    • เครื่องมือหรือตัวชี้วัดคุณภาพวารสารที่นิยม คือ Journal Impact Factor (JIF), JIF Quartile, SCIMago Journal Rank (SJR), SJR Quartile, Eigenfactor, Source Normalized Impact per Paper (SNIP), Impact Per Publication (IPP), Citation Index เป็นต้น
      • Journal Impact Factor (JIF) หมายถึง ค่าเฉลี่ยการอ้างอิงบทความในช่วง 2 ปี
        (นับถอยหลังจากปี JCR) คำนวณโดยนำจำนวนการอ้างอิงทั้งหมดหารด้วยจำนวนบทความทั้งหมดในช่วงระยะเวลา 2 ปี
      • JIF Quartile Quartile score ของวารสารในแต่ละสาขาวิชา
        • Q1 = top position (highest 25% of data)
        • Q2 = middle-higp ( hostion (อยู่ระหว่าง top 50% และ top 25%)
        • Q3 = middle-low postion (อยู่ระหว่าง top 75% และ top 50%)
        • Q4 = bottom position (bottom 25%)
      • 5-Year Impact Factor หมายถึง ค่าเฉลี่ยการอ้างอิงของบทความในช่วง 5 ปี (นับถอยหลังจากปี JCR) คำนวณโดยนำจำนวนการอ้างอิงทั้งหมดหารด้วยจำนวนบทความทั้งหมดในช่วงระยะเวลา 5 ปี เหมาะสำหรับการตรวจสอบคุณภาพของวารสารบางสาขาที่มีค่าการอ้างอิงเพิ่มขึ้นในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่นวารสารด้านธรณีวิทยา, สังคมวิทยา เป็นต้น
      • Immediacy Index เป็นค่าความรวดเร็วการอ้างอิงของวารสาร คำนวณโดยนำจำนวนการอ้างอิงทั้งหมดหารด้วยจำนวนบทความทั้งหมดของปีที่บทความนั้นได้รับการตีพิมพ์ ค่า Immediacy Index มีจุดสังเกตคือบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ช่วงต้นปีจะมีโอกาสมีค่า immediacy Index สูงว่าบทความที่ตีพิมพ์ท้ายปีเนื่องจากจะตัดคะแนนทุกสิ้นปี
      • Eigenfactor หมายถึง จำนวนการอ้างอิงที่ได้รับหลังจากตีพิมพ์บทความไปแล้วในระยะ 5 ปี และถ่วงน้ำหนักด้วยชื่อเสียงของวารสาร กล่าวคือ หากวารสารได้รับการอ้างอิงจากวารสารระดับสูง จะส่งผลให้วารสารนั้นมีค่า Eigenfactor สูงกว่าวารสารที่ได้รับการอ้างอิงจากวารสารอันดับต่ำ Eigenfactor จะแบ่งคะแนนออกเป็น 100 ส่วนจากรายชื่อวารสารทั้งหมดในฐานข้อมูล JCR
  • ชี้วัดคุณภาพของวารสารโดยให้ความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์กันระหว่างจำนวนบทความที่ตีพิมพ์กับจำนวนการอ้างอิงบทความของวารสารได้ถูกนำไปใช้ในวงวิชาการหรือไม่ และถูกนำไปใช้อย่างไร ปริมาณบทความที่วารสารตีพิมพ์ออกมามากๆต่อปี ไม่ได้หมายความว่าวารสารนั้นมีคุณภาพดีกว่าวารสารที่ตีพิมพ์น้อยกว่าครึ่ง
    • ดังนีชี้วัดที่นิยมคือ h-index
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสาร (Impact/ranking)
  • Journal Citation Reports
    • webofknowledge.com (ใช้เฉพาะภายในเครือข่ายอินเตอร์ของมหาวิทยาลัย หรือ ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้เพื่อเข้าใช้ JCR นอกเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย)
    • เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Clarivate
    • ค่าที่ใช้ในการประเมินคือ
      • Journal Impact Factor คือ ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งที่ได้รับการอ้างอิงต่อบทความจากวารสารตีพิมพ์ในสองปีล่าสุด
      • JIF Quartile ใช้เพื่อการประเมินคุณภาพและจัดอันดับวารสารที่มีค่า Impact Factor ของวารสารในแต่ละสาขาไม่เท่ากัน
กลยุทธการเลือกวารสารนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์
  • ทบทวนวารสารที่ใช้ในการอ้างอิง (Reference)
    • เริ่มจากวารสารที่เราใช้ในการอ้างอิงในงานวิจัย หรือ ใช้เพื่อติดตาม การพัฒนา หรือ ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการในสาขาของเรา
    • วารสารใดที่นักวิจัย หรือ ผู้แต่งที่มีชื่อเสียงในสาขาของเราใช้
    • วารสารใดบ้างที่บุคลากรในหน่วยงาน หรือองค์กรที่เราอยู่ตีพิมพ์
  • พิจารณาขอบเขตเนื้อหาของวารสาร
    • วารสารทีขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมแนวกว้าง เช่น Natural Science เป็นต้น
    • หากกำหนดผู้อ่านเป้าหมายเฉพาะกลุ่มเฉพาะสาขา ให้เลือกวารสารมุ่งเน้นขอบเขตเนื้อหาเฉพาะทางสาขา
    • ทบทวนจากวารสารฉบับเก่า เพื่อประเมินขอบเขตเนื้อหาวารสาร (Web of Science)
  • การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking
    • ปัจจัยเรื่อง Impact และ Ranking ของวารสาร ใช้เป็นค่าที่ใช้บ่งชี้เรื่องคุณภาพของวารสารนั้น ๆ เช่น ค่าเฉลี่จำนวนครั้งของการอ้างอิงต่อบทความในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาที่กำหนด (Impact Factor)
    • จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในแต่ละปี
    • การประเมินช่วงอายุเฉลี่ยของการใช้วารสาร (Cited half life)
  • สถานะการมีอยู่ของวารสาร (Index) อยู่ในฐานข้อมูลวารสารอ้างอิงที่สำคัญ (Citation Databases)
    • ใช้เพื่อประเมินคุณภาพวารสาร โดยการตรวจสอบสถานะ Index และระยะเวลาที่ Index ในฐานข้อมูลวารสารอ้างอิงที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับกันในวงการศึกษาวิจัย เช่น
      • WebofScience
      • Scopus
      • Google Scholar เป็นต้น
  • ข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร
    • จำนวนปีที่ตีพิมพ์
    • Most Read/ Most Cited
    • ภาษาต้นฉบับที่ตีพิมพ์
    • ความถี่ของการตีพิมพ์
    • ตีพิมพ์ในรูปแบบใด อิเล็กทรอนิกส์ / ตัวเล่ม
  • สถานะวารสารประเภท Peer Review
    • Peer Review คือ กระบวนการทางวิชาที่วารสารได้จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญสำหรับแต่ละสาขาเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความและลงความคิดเห็นหรือตัดสินให้บทความดังกล่าว ยอมรับให้ตีพิมพ์ (Accepted) หรือ ปฎิเสธ (Revised)
    • วารสารที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานก่อนการตีพิมพ์ จะช่วยคัดกรองเรื่องคุณภาพวารสารได้เป็นอย่างดี
  • ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Review Process)
    • ตรวจสอบระยะเวลาเฉลี่ยในการส่งบทความตีพิมพ์ (submit)
    • ตรวจสอบระยะเวลาตั้งแต่ส่งบทความถึงการปฏิเสธการตีพิมพ์
    • การแจ้งเตือนะถึงผู้เขียนว่าบทความที่ได้รับการยอมรับและ เมื่อยอมรับแล้วใช้เวลานานเท่าไหร่บทความดังกล่าวถึงได้ตีพิมพ์
    • ความถี่ในการตีพิมพ์ (Issue Per Year) ขั้นตอนการ Review สำหรับวารสารที่ตีพิมพ์ 3 เดือนครั้ง น่าจะมีแนวโน้มนานกว่าวารสารที่ตีพิมพ์ทุกเดือน
      • ดูจาก Web site
      • ติดต่อ Editor
  • ชื่อเสียงของสำนักพิมพ์, วารสาร, บรรณาธิการ และ บอร์ดบรรณาธิการ
    • ใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาถึงคุณภาพของวารสาร
      • ตรวจสอบได้จากเว็บไซด์ของวารสาร
      • สอบถามจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรือ เพื่อนนักวิจัย
  • ประเภทต้นฉบับ (Manuscript)
    • วารสารบางชื่อเลือกยอมรับบทควาามต้นฉบับเฉพาะบางประเภทเท่านั้น เช่น Review Article เป็นต้น
      • ตรวจสอบได้จาก Website
  • ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
    • ค่า review บทความ
    • ค่าดำเนินการต่าง ๆ เช่น รูป สี สื่อประสมอื่น ๆ
    • ค่าจัดทำบรรณานุกรม
    • ค่าเปิดให้บทความสามารถเข้าถึงหรืออ่านได้ฟรี (Open Access Article)
    • ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์วารสารประเภท Open Access
  • Rights For Author : การกำหนดสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์ในบทความที่ตีพิมพ์ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของบทความ (Author) ในการจัดพิมพ์เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการเข้าถึงบทความโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
    • Open Access Repositories
      • Open Access Repositories หมายถึง ขอบเขตของสิทธิ์ในการจัดเก็บบทความนั้นไว้ เพื่อการเผยแพร่และเปิดให้เข้าถึงบทความนั้นฟรีบนอินเตอร์เน็ต ที่ผู้เป็นเจ้าของบทความ (Author) พึงกระทำได้
        “RoMEO (www.sherpa.ac.uk/romeo) ได้จัดทำรหัสสีในการแบ่งกลุ่มวารสารตามขอบเขตของสิทธิ์ไว้ดังนี้
        • สีขาว (White Journals) หมายถึง สำนักพิมพ์ไม่ยินยอมให้สิทธิ์ใดๆ เลยแก่เจ้าของผลงานตีพิมพ์ในการจัดเก็บผลงานตัวเองบนอินเตอร์เน็ต
        • สีเหลือง (Yellow Journals) หมายถึง สำนักพิมพ์ยินยอมให้สิทธิื์แก่เจ้าของผลงานตีพิมพ์ในการจัดเก็บผลงานตัวเองบนอินเตอร์เน็ต และเปิดให้เข้าถึงได้ฟรี เฉพาะบทความฉบับร่าง (Draft) เท่านั้น
        • สีน้ำเงิน (Blue Journals) หมายถึง สำนักพิมพ์อนุญาตให้เจ้าของผลงานตีพิมพ์ทำการจัดเก็บผลงานตัวเองบนอินเตอร์เน็ตและให้เข้าถึงได้ฟรี เฉพาะบทความฉบับสมบูรณ์ (Author’s Final Version or Postprint) ที่ได้ผ่านการตรวจสอบและแก้ไขตามคำแนะนำของสำนักพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือ รูปแบบ PDF ที่พร้อมตีพิมพ์ในวารสารเท่านั้น
        • สีเขียว (Green Journals) หมายถึง สำนักพิมพ์อนุญาตให้เจ้าของผลงานตีพิมพ์ทำการจัดเก็บผลงานตัวเองบนอินเตอร์เน็ต และเปิดให้เข้าถึงได้ฟรี ทั้งบทความฉบับร่าง (Draft of Reprint) และบทความฉบับสมบูรณ์ (Author’s Final Version or Postprint) ที่ได้ผ่านขั้นตอนตรวจสอบและแก้ไขตามคำแนะนำของสำนักพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือรูปแบบ PDF ที่พร้อมตีพิมพ์ในวารสาร
    • Embargoes
      • ปี 2006 สำนักพิมพ์การกำหนดช่วงเวลาสำหรับสิทธิ์ในการจัดเก็บและเปิดให้เข้าถึงผลงานตีพิมพ์ฟรีบนอินเตอร์เน็ต ให้แก่เจ้าของผลงาน เช่น 6, 12, 18, 24, เดือน หรือ นานกว่านั้น เช่น วารสารนั้นเป็นแบบ green journal และ embargoes เท่ากับ 12 เดือน = วารสารนั้นกำหนดไว้ว่า บทความฉบับร่างและบทความฉบับสมบูรณ์จะนำมาเผยแผร่บนอินเตอร์เน็ตและบริการเข้าถึงฟรีได้ หลังจากบทความนั้นตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วในวารสาร 12 เดือน
        อ้างอิง Sarli,C 2010 Preparing for publication : Factors to consider in selecting A journal for publication
Accordion Item

Search