ประสิทธิภาพการส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันของผู้ดูแลเด็กต่อเด็กที่มีอายุ 6 เดือน -2 ปี ภายใต้การประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค และการสื่อสารสังคม ตามแนวการเรียนรู้แบบปรับเหมาะ 21 for FUN พ.ศ.2562

ทีมวิจัย   ผศ.ดร.ทพญ. จรัญญา หุ่นศรีสกุล ผศ.ทพญ.เสมอจิต  พิธพรชัยกุล และคณะ

การศึกษานี้ เป็นการฝึกทักษะการแปรงฟันนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการทำความในช่องปากเด็ก และมีการเพิ่มแนวคิดในการนำการจัดการเรียนรู้แบบปรับเหมาะ (Adaptive learning) เข้ากับการใช้สื่อสังคมบนแพลตฟอร์ม Facebook Messenger นำแนวคิดของทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค มาเป็นพื้นฐานในการออกแบบกิจกรรม (Interventions) ในแต่ละกลุ่มศึกษาในระดับพื้นที่ภาคใต้ โดยมีเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพทั้งในแง่ความถี่ในการแปรงฟันให้เด็กเล็กด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์และระดับความสะอาดในช่องปาก โดยแบ่งเป็น เทียบระหว่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ หนึ่ง กิจกรรมการการฝึกแปรงฟันในเด็กจริง ร่วมกับการใช้สื่อโปสเตอร์ และ สอง กลุ่มที่ได้รับการฝึกแปรงฟันในตุ๊กตาร่วมกับสื่อ 21 for FUN และเทียบระหว่าง 3 กลุ่มได้แก่ หนึ่ง กิจกรรมการฝึกแปรงฟันในเด็กจริง สอง กลุ่มการฝึกแปรงฟันในเด็กจริง และ line@funsuayplikthai ร่วมกับการใช้สื่อโปสเตอร์ และ สาม กลุ่มการฝึกแปรงฟันในเด็กจริง และ line@funsuayplikthai ร่วมกับการใช้สื่อ 21 for FUN

วัตถุประสงค์     

เพื่อเปรียบเทียบผลของการส่งเสริมพฤติกรรมผู้ดูแลเด็กในวิธีที่แตกต่างกันต่อความสามารถของผู้ดูแลเด็กในการทำความสะอาดช่องปากลูก และประเมินความพึงพอใจต่อสื่อ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจต่อการสนับสนุนให้มีการแปรงฟันให้แก่เด็กเล็ก เพื่ออนาคตที่ดีของบุตรหลาน

Search