กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ (CQI)

กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ (CQI)
  • 1 พฤศจิกายน 2023
  • 14:59
  • CQI
  • 943

การปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งของคลินิกทันตกรรม
ก่อนการส่งไปบำบัด ณ ระบบบำบัดน้ำเสีย

คำสำคัญ

1. คุณภาพน้ำทิ้งของคลินิกทันตกรรม หมายถึง น้ำที่ผ่านการใช้งานจากคลินิกทันตกรรม ที่ไม่มีผลพิษทางกลิ่น และมีการปนเปื้อนสารปรอทในปริมาณที่ต่ำ
2. ค่าสารปรอทในระบบน้ำทิ้ง หมายถึง ปริมาณค่าสารปรอทที่มีการปเปื้อนในน้ำทิ้งที่ผ่าน ถังดักสารปรอทของระบบน้ำทิ้งจากคลินิกทันตกรรม

สรุปผลงานโดยย่อ

ในการให้บริการทางทันตกรรมน้ำทิ้งจากคลินิกทันตกรรมบางส่วนมีการปนเปื้อนสารปรอท โรงพยาบาลทันตกรรมจึงต้องมีการควบคุมปริมาณสารปรอทไม่ให้ค่าเกินสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานมากเกินไป เป็นการลดภาระของระบบบำบัดน้ำเสีย โดยการติดตั้งถังดักสารปรอทพร้อทเครื่องฉีดสาร Sodium hypochlorite (NaOCL) เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และกลิ่น และปล่อยให้ปรอทมีการตกตะกอนก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่คูระบายน้ำทิ้ง มีการควบคุม และเฝ้าระวังคุณภาพของน้ำเพื่อส่งวิเคราะห์คุณภาพที่สำนักงานเครื่องมือวิทยาศาสตร์และ การทดสอบโดยกำหนดให้มีการส่งผลตรวจปีละ 2ครั้ง

ผลการทดสอบคุณภาพน้ำทิ้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่าตัวอย่างจาก “ถังดักสารปรอทที่ 3” ไม่พบค่าปรอท ในส่วน “ถังดักสารปรอทที่ 2” พบค่าปรอทเท่ากับ 6.67 ไมโครกรัม / ลิตร ซึ่งเป็นค่าที่เกินมาตรฐานที่กำหนดให้มีค่าไม่เกิน 0.005 ไมโครกรัม / ลิตร (อ้างอิงมาตรฐานค่าน้ำทิ้งอุตสาหกรรม) งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาได้วิเคราะห์สาเหตุพบว่า หากความจุของถังสารปรอทไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำทิ้งจากคลินิกทันตกรรมต่อวันได้ทั้งหมด น้ำส่วนเกินจะถูกระบายลงคูระบายน้ำทิ้งผ่านท่อน้ำล้นทันที โดยยังไมไ่ด้ผ่านกระบวนการตกตะกอนสารปรอท ทางหน่วยงานจึงหาแนวทางในการปรับปรุงให้น้ำทิ้งมีเวลาในการตกตะกอนก่อนที่จะปล่อยลงคูระบายน้ำโดยปรับปรุงให้ถังดักสารปรอทมีความสามารถในการรองรับปริมาณน้ำทิ้งได้โดยไม่ปล่อยน้ำทิ้งลงคูระบายน้ำทิ้งนอกเวลาที่กำหนด และไม่ก่อให้เกิดมลพิษืทางกลิ่นโดยติดตั้งเครื่องผสมสาร Sodium hypochlorite เพื่อให้สามารถกำจัดกลิ่นในถังดักสารปรอทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการทดสอบคุณภาพน้ำทิ้งเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 พบว่าตัวอย่างน้ำทิ้งจาก “ถังดักสารปรอทที่ 3” มีค่าปรอทเท่ากับ 12.280 ไมโครกรัม / ลิตร ส่วนตัวอย่างน้ำทิ้งจาก “ถังดักสารปรอทที่ 2” มีค่าปรอทเท่ากับ 12.458 ไมโครกรัม / ลิตร ซึ่งเป็นค่าที่เกินมาตรฐานที่กำหนด แต่ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่น และการรองรับปริมาณน้ำทิ้งจากคลินิกทันตกรรม

ชื่อและที่อยู่องค์กร

งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สมาชิกทีม

เจ้าหน้าที่กลุ่มงานซ่อมบำรุง งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง

เป้าหมาย

เพื่อปรับปรุงให้ถังดักสารปรอทมีความสามารถในการรองรับปริมาณน้ำทิ้งได้โดยไม่ปล่อยน้ำลงคูระบายน้ำทิ้งก่อนเวลาที่กำหนด และไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางกลิ่น

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ

ในการให้บริการทางทันตกรรมของคลินิกต่างๆ ภายในโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์มีการใช้น้ำปะปาในการทำงานของคลินิกต่างเฉลี่ยประมาณ 4-5 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยน้ำที่ผ่านการใช้งานจากยูนิตทันตกรรมเหล่านี้จะปล่อยลงสู่คูระบายน้ำทิ้ง เพื่อส่งต่อไปยังบ่อบำบัดระบายน้ำเสียของคณะแพทยศาสตร์ ก่อนปล่อยออกสู่คูน้ำสาธารณะต่อไป ซึ่งน้ำทิ้งที่ผ่านการใช้งานจากคลินิกทันตกรรมบางส่วนมีการปนเปื้อนสารปรอท โรงพยาบาลทันตกรรมจึงต้องการลดปริมาณสารปรอทในน้ำทิ้ง โดยการติดตั้งถังดักสารปรอทสำหรับตกตะกอนสารปรอทก่อนปล่อยน้ำระบายลงสู่คูระบายน้ำทิ้ง โดยมีจำนวน 3ตำแหน่ง เพื่อให้สามรถรองรับปริมาณน้ำทิ้งจากทุกคลินิกทันตกรรมได้ทั้งหมด โดยมีรายละเอียดดังนี้
– ถังดักสารปรอทที่ 1 รับน้ำทิ้งจาก คลินิก CCDD, คลินิกทันตกรรมจัดฟัน
– ถังดักสารปรอทที่ 2 รับน้ำทิ้งจาก คลินิกบริการทันตกรรม, คลินิกบัณฑิตฯ 1
– ถังดักสารปรอทที่ 3 รับน้ำทิ้งจาก คลินิกรวม 1, คลินิกรวม 2, คลินิกบัณฑิตฯ 2

โดยในถังดักสารปรอทจะรับน้ำทิ้งที่ผ่านการใช้งานจากคลินิกทันตกรรม เพื่อรอการตกตะกอนให้ปรอทตกอยู่ที่ก้นถัวทรงกรวย และจำทำการปล่อยน้ำดังกล่าวลงคูระบายน้ำทิ้งเวลา 05:00 น. – 07:00 น. ก่อนจะเริ่มรับน้ำทิ้งจากคลินิกของวันถัดไปดังนั้น หากความสามารถในการรองรับน้ำทิ้งของถังดักสารปรอทไม่เพียงพอ จะทำให้น้ำทิ้งดังกล่าวถูกระบายลงคูระบายน้ำทันทีผ่านท่อน้ำล้น โดยไม่มีเวลาในการตกตะกอนสารปรอท ส่วนน้ำทิ้งที่ยังอยู่ในถังรอระบายทิ้งในช่วงเวลาที่กำหนด จะมีอยู่ในถังไม่น้อยกว่า 9ชั่วโมง เพื่อตกตะกอนสารปรอท แต่อาจก่อให้เกิดแบคทีเรียและมลพิษทางกลิ่น

จากปัญหาดังกล่าว งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุงจึงต้องหาแนวทางแก้ไขในการปรับปรุงให้ถังดักสารปรอทมีความสามารถในการรองรับปริมาณน้ำทิ้งได้โดยไม่ปล่อยน้ำทิ้งลงคูระบายน้ำทิ้งนอกเวลาที่กำหนด และไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางกลิ่น

กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ(การเปลื่ยนแปลง): วิเคราะห์สาเหตุ

การนำเครื่องมือผังก้างปลา (Fish bone diagram) มาใช้เพื่อวิเคราะห์สเหตุ ค่าปรอทในน้ำทิ้งของถังดักสารปรอทสูง และมีกลิ่นจากน้ำทิ้งในถัง

สาเหตุที่สำคัญ

1. ปริมาณน้ำทิ้งจากคลินิกทันตกรรม
2. ระยะเวลาในการตกตะกอนของสารปรอท
3. การทำปฎิกิริยาของ Sodium hypochlorite

การปรับปรุงแก้ไขเบื้องต้น

1. การแก้ไขเบื้องต้น โดยในแต่ละวันจะให้ช่างผู้รับผิดชอบ ตรวจสอบรายการต่อไปนี้
– ตรวจสอบปริมาณสาร Sodium hypochlorite ความเข้มข้น 10% ให้มีเพียงพอ พร้อมใช้
– ตรวจเช็คการทำงานของเครื่องฉีดสาร Sodium hypochlorite
– ตรวจสอบปริมาณน้ำทิ้งในแต่ละวันเฝ้าระวังน้ำทิ้งล้นถัง
– ตรวจสอบการทำงานของระบบควบคุมการเปิด-ปิด ของวาล์วระบายน้ำทิ้ง
– ตรวจสอบการทำงานของเครื่องผสมสาร

2. ปรับปรุงการเฝ้าระวัง เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำทิ้ง
– กำหนดแผนเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งในแต่ละถัง เพื่อส่งตรวจปีละ 2ครั้ง
– นำกระบวนการ PDCA มาใช้ในการแก้ปัญหาหากตัวอย่างน้ำทิ้งจากถังดักสารปรอทที่ส่งตรวจมีค่าปรอทเกินเกณฑ์มาตรฐาน
– การตรวจสอบอุปกรณ์ในระบบถังดักสารปรอทของอาคารให้อยู่ในสภาพพร้อทใช้งานตลอดเวลา

3. การกำหนดแผนการบำรุงรักษาระบบ
– การควบคุมและเฝ้าระวังปริมาณสารปรอทที่ปนเปื้อนในน้ำทิ้ง และกลิ่นจากน้ำทิ้งในถังดักสารปรอทโดยการบำรุงรักษาตามแผนฯ ที่กำหนดรวมทั้งการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากถังดักสารปรอทส่งวิเคราะห์คุณภาพที่สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ ปีละ 2ครั้ง

แนวทางการแก้ปัญหา

ตรวจสอบการทำงานของวาล์วระบายน้ำทิ้งของถังดักสารปรอท และปรับปรุงแก้ไขกรณีการทำงานคลาดเคลื่อนจากเวลาที่กำหนดเพื่อป้องกันระยะเวลาตกตะกอนของสารปรอทในน้ำทิ้งน้อยเกินไป และจัดทำเครื่องผสมน้ำยา Sodium hypochlorite เข้ากับถังดักสารปรอทเพื่อให้สามารถผสมน้ำทิ้งจากยูนิตทันตกรรมให้รวมตัวกับ Sodium hypoclorite ได้อย่างทั่วถีง ทำให้สามารถป้องกันกลิ่นที่อาจเกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การวัดผลและผลของการเปลื่ยนแปลง

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 เรื่องกำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงานลงสู่แหล่งน้ำ ให้มีสารปรอทเจือปนในน้ำทิ้งได้ไม่เกิน 0.005 mg / l และประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2539) เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม ออกตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 กำหนดให้มีค่าการปล่อยสารปรอทไม่เกิน 0.005 mg / l นั้น งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งในโรงพยาบาลทันตกรรม ได้มีการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากถังดักสารปรอทและส่งไปวิเคราะห์คุณภาพที่สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ผลการส่งตรวจตัวอย่างน้ำทิ้งพบว่าค่าสารปรอทในน้ำทิ้งจาก “ถังดักสารปรอทที่ 3” ไม่พบค่าสารปรอทส่วน “ถังดักสารปรอทที่ 2” มีค่าปรอทเท่ากับ 6.67 ไม่โครกรัม / ลิตร ซึ่งเป็นค่าที่เกินมาตรฐานที่กำหนดให้ค่าไม่เกิน 0.005 ไม่โครกรัม / ลิตร(อ้างอิงมาตรฐานค่าน้ำทิ้งอุตสาหกรรม)

งานอาคาร วิศวกรรม และซ่อมบำรุง จึงได้ร่วมกันค้นหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข ในกาปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งจากถังดักสารปรอท ไม่ให้มีค่าสูงเกินไป เพื่อลดภาระของระบบบำบัดน้ำเสียของคณะทันตแพทยศาสตร์ และป้องกันปัญหามลพิษทางกลิ่นจากน้ำทิ้งในถัง โดยการปรับปรุงแก้ไขการทำงานชองวาล์วระบายน้ำจากถังดักสารปรอท ติดตั้งเครื่องผสมสาร Sodium hypochlorite เพื่อให้สาร Sodium hypochlorite สามารถผสมกับน้ำทิ้งจากยูนิตทันตกรรมได้อย่างทั่วถีง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดับกลิ่น

จากผลการทดสอบคุณภาพน้ำทิ้งวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 พบว่าตัวอย่างจาก “ถังดักสารปรอทที่ 3” มีค่าปรอทเท่ากับ 12.280 ไมโครกรัม / ลิตร ส่วน “ถังดักสารปรอทที่ 2” มีค่าเท่ากับ 12.458 ไมโครกรัม / ลิตร ซึ่งเป็นค่าที่เกินมาตรฐานที่กำหนด แต่ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นของเสียจากน้ำทิ้งภายในถัง

บทเรียนที่ได้รับ

การจัดการค่าสารปรอทในระบบน้ำทิ้งของโรงพยาบาลทันตกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ต้องมีการดำเนินงานใน 2ส่วนควบคู่กันไป การติดตามและตอบสนองต่อค่าสารปรอทในน้ำทิ้งที่ผ่านการตกตะกอนอย่างเหมาะสม จึงจะทำให้คุณภาพน้ำทิ้งที่ส่งต่อไปยังระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่เป็นภาระของระบบฯ มากเกินไปซึ่งประกอบด้วย

1. การกำหนดแผนการบำรุงรักษาและการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำทิ้งของคลินิกทันตกรรมจะต้องมีการวางแผนบำรุงรักษาและมีการติดตามการดำเนินการ เช่น การเฝ้าระวังน้ำทิ้งล้นถัง ตรวจสอบควบคุมการเปิด-ปิดของวาล์วระบายน้ำทิ้งให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงตรวจเช็คการทำงานของเครื่องฉีดและเครื่องผสมสาร Sodium hypochlorite เพื่อป้องกันปัญหากลิ่นจากน้ำทิ้งในถังดักสารปรอท สำหรับเฝ้าระวังคุณภาพของน้ำต้องมีการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งส่งวิเคราะห์คุณภาพที่สำนักเครื่องทือวิทยาศาสตร์และ การทดสอบปีละ 2ครั้ง และมีการจัดการสารปรอทให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการวัตถุของเสียและวัตถุอันตรายโดยมีการส่งกำจัดปีละ 1ครั้ง

2. ในการแก้ปัญหาเพื่อลดปริมาณสารปรอทในน้ำทิ้ง ช่างผู้รับผิดชอบการดูแลการบำรุงรักษาจะต้องมีความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของถังดักสารปรอท และปรับปรุงแก้ไขกรณีวาล์วระบายน้ำทิ้งทำงานคลาดเคลื่อนจากเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันระยะเวลาตกตะกอนของสารปรอทน้อยเกินไป

3. การวางแผนการแก้ไขหาดเกิดปัญหามีกลิ่นจากน้ำทิ้งในถังดักสารปรอท ช่างผู้รับผิดชอบการดูแลจะต้องรีบหาสาเหตุ เพื่อดำเนินการแก้ไขเริ่งด่วน เช่นการเพิ่มปริมาณการฉีดสาร Sodium hypochlorite 10% ในถังดักสารปรอทในแต่ละรอบการทำงาน หรือการเพิ่มระยะเวลาในการทำงานของเครื่องผสมสาร Sodium hypochlorite เป็นต้น

การติดต่อกับทีมงาน

งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร.074-287690

การปรับปรุงระบบระบายน้ำ บริเวณกำแพงกันดิน
ชั้น B อาคาร 3

คำสำคัญ

1. ระบบระบายน้ำ

สรุปผลงานโดยย่อ

โครงการปรับปรุงติดตั้งปั๊มน้ำ และเปลื่ยนแนวท่อระบายน้ำฝนเนื่องมาจากงานปรับปรุงกำแพงกันดินที่ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักทำให้ปริมาณของน้ำฝนที่เพิ่มมากขึ้น พบว่าเกิดน้ำล้นจากบ่อพักน้ำทิ้ง ทำให้น้ำไหลท่วมไปยังพื้นที่ชั้น B อาคาร 3 ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน

งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุงจึงได้ร่วมกันค้นหาสาเหตุและแนวทางการป้องกันน้ำท่วม เพื่อป้องกันความเสียหายของชีวิตทรัพย์สิน โดยมีการปรับปรุงแก้ไข 3 ขั้นตอนเริ่มขั้นตอนการแก้ไขเบื้องต้นการทำความสะอาดกำจัดขยะและดินโคลนที่อยู่ในบ่อพักน้ำไม่ให้เกิดการอุดตันการไหลของน้ำ ขณะที่ปั๊มน้ำทำการสูบระบายน้ำทิ้งออกไป ขั้นตอนการปรับปรุงเพื่อติดตั้งปั๊มน้ำทำการสูบระบายน้ำทิ้งออกไป ขั้นตอนการปรับปรุงเพื่อติดตั้งปั๊มน้ำเพิ่มเติมและเปลื่ยนแนวท่อระบายน้ำฝนให้รองรับเมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกที่มีปริมาณมาก ขั้นตอนการเฝ้าระวังโดยติดตามผลพยากรณ์อากาศและแผนซ่อมบำรุงรักษาเครื่องปั๊มน้ำให้อยู่ในสภาพความพร้อมใช้งาน

ชื่อและที่อยู่ขององค์กรณ์

งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สมาชิกทีม

เจ้าหน้าที่กลุ่มงานซ่อมบำรุง งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง

เป้าหมาย

เพื่อป้องกันการเกิดน้ำไหลท่วมพื้นที่ชั้น B อาคาร 3 พื้นที่ใกล้เคียงและทรัพย์สินไม่ได้รับความเสียหาย

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ

จากความต้องการเพิ่มพื้นที่ในการทำกิจกรรมของนักศึกษา เนื่องจากพื้นที่ใต้อาคารไม่เพียงพอ จึงมีการขุดพื้นที่บริเวณรอบนอกอาคารและสร้างกำแพงกันดินเพื่อป้องกันดินสไลด์และน้ำจากภายนอกเข้ามาในคณะ ซึ่งเดิมบริเวณดังหล่าวเป็นพื้นที่รับน้ำฝนเพื่อระบายไปยังคูระบายน้ำของมหาวิทยาลัย ทำให้หลังจากการปรับปรุงกำแพงกันดินเสร็จ ระดับคูระบายน้ำฝนของกำแพงกันดินอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับแนวคูระบายน้ำมหาวิทยาลัย ซุ่งไม่สามารถระบายน้ำโดยวิธีธรรมชาติได้ จึงมีการก่อสร้างบ่อพักน้ำที่ชั้น B อาคาร 3 และติดตั้งปั๊มน้ำ 2 ตัวเพื่อสูบน้ำจากบ่อพักน้ำระบายไปยังคูระบายน้ำของมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเหตุการณ์ฝนตกหนักมากทำให้มีปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มมากขึ้น ปั๊มน้ำ 2 ตัวที่ติดตั้งอยู่ไม่สามารถระบายได้ทัน ส่งผลให้เกิดน้ำล้นจากบ่อพักและไหลท่วมไปยังบริเวณชั้น B อาคาร 3 ทำให้ทรัพย์สินเกิดความเสียหาย งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุงจึงได้หาแนวทางป้องกันและลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น

จากปัญหากดังกล่าว งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง จึงได้ร่วมกันค้นหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชั้น B อาคาร 3 จากบ่อพักน้ำเมื่อเกิดการไหลล้นขึ้นมา และติดตามตรวจสอบการพยากรณ์อากาศใน แต่ละวันเตรียมความพร้อมไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สิน

กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ(การเปลื่ยนแปลง): วิเคราะห์สาเหตุ

การนำเครื่องมือ 5 Way Analysis มาใช้เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดน้ำท่วมไปยังพื้นที่ชั้น B อาคาร 3 หลังการปรับปรุงกำแพงกันดิน

สาเหตุที่สำคัญ

1. ปั๊มน้ำมีขนาดเล็กทำให้อัตราการระบายน้ำไม่เพียงพอ
2. ฟุตวาล์วอุดตัน
3. ขนาดความสม่ำเสมอในการทำความสะอาดบ่อพักน้ำ
4. ขนาดของบ่อพักน้ำไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนในปริมาณที่มากได้

แนวทางการแก้ไขและปรับปรุงน้ำล้นของบ่อพักน้ำ

1. การแก้ไขเบื้องต้น
– การล้างบ่อพักน้ำเพื่อกำจัดขยะและโคลนไม่ให้เกิดการอุดตันขณะปั๊มน้ำสูบน้ำทิ้ง

2. ปรับปรุงอัตราการระบายน้ำให้เพิ่มขึ้น โดยการติดตั้งปั๊มน้ำเพิ่ม 3. ย้ายท่อระบายน้ำฝนของอาคาร

3 บางตำแหน่งไปยังคูระบายน้ำของมหาวิทยาลัยโดยตรง เพื่อลดปริมาณน้ำฝนที่ระบายลงสู่คูระบายน้ำฝนของกำแพงกันดิน

4. การกำหนดแผนการบำรุงรักษาระบบ
– ล้างทำความสะอาดบ่อพักน้ำ
– ตรวจเช็คความพร้อมใช้งานของปั๊มน้ำ
– ตรวจเช็คการอุดตันของฟุตวาล์วและการชำรุดของท่อส่งน้ำด้านระบายออก

5. สร้างระบบแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน Line และเสียงสัญญาณเตือน เพื่อให้สามารถเข้าตอบสนองต่อปัญหาได้เร็ว ก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน

การวัดผลและผลของการเปลื่ยนแปลง

หลังจากที่ได้ทำการติดตั้งปั๊มน้ำเพิ่ม 1 เครื่อง ปรับปรุงท่อส่งน้ำของปั๊มน้ำ และกำหนดเรื่องการทำความสะอาดเพื่อป้องกันการอุดตันของฟุตวาล์ว ทำให้การระบายน้ำทิ้งมีอัตราการไหลที่ดีขึ้น สามารถระบายน้ำไปยังคูระบายน้ำของมหาวิทยาลัยได้เร็วกว่าเดิม และการเปลื่ยนแนวท่อระบายน้ำฝนไปยังคูระบายน้ำของมหาวิทยาลัยโดยตรงทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงบ่อพักน้ำลดลง จึงทำให้น้ำไม่ไหลท่วมมายังพื้นที่ชั้น B อาคาร 3 แต่ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมคือปริมาณน้ำฝน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามรถควลคุมได้ ทำให้ยังมีน้ำล้นจากบ่อพักน้ำเมื่อเกิดฝนตกหนักมาก แต่จะไหลท่วมในเฉพาะพื้นที่กำแพงกันดินเพียงเท่านั้นไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียงและความเสียหายทรัพย์สิน

บทเรียนที่ได้รับ

เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้เกิดผลกระทบความเสียหายต่อทรัพย์สิน ทำให้มองเห็นความสำคัญของการออกแบบระบบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ (เช่น ปริมาณน้ำฝน) ว่าควรออกแบบให้มีความสามารถในการรองรับได้ไม่น้อยกว่า 150% ดังนั้นเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา การวางแผนขั้นตอนการรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักทำให้ปริมาณน้ำฝนเยอะ ต้องมีการดำเนินงานใน 2 ส่วนควบคู่กันไป จึงจะทำให้ทรัพย์สินไม่เกิดความเสียหาย ซึ่งประกอบด้วย

1. การกำหนดแผนบำรุงรักษาและการเฝ้าระวังน้ำที่ไหลล้นจากบ่อพักน้ำ การบำรุงรักษาจะต้องมีการวางแผนงานประจำปีและมีการติดตามการดำเนินการอย่างเป็นระเบียบ เช่น การทำความสะอาดและกำจัดขยะของบ่อพักน้ำ 1 ครั้ง / สัปดาห์

2. การบำรุงรักษาเครื่องปั๊มน้ำ ตรวจเช็คอัตราการไหลของการระบายน้ำทิ้ง การอุดตันของด้านท่อส่งน้ำรวมถึงท่อทางด้านสูบน้ำ 1 ครั้ง / สัปดาห์

3. การส้รางระบบแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน Line และเสียงสัญญาณเตือน แม้ว่าผลลัพธ์แก้ไขปัญหาในปัจจุบัน ทำให้ยังไม่เกิดปัญหาการไหลท่วมของน้ำมายังพื้นที่ชั้น B อาคาร 3 แต่เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา จึงสร้างระบบแจ้งเตือนเมื่อน้ำล้นบ่อพักน้ำ เพื่อให้สามารถตอบสนองปัญหาและสามารถแก้ไขได้รวดเร็วก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน

4. การทำงานเป็นทีม การมอบหมาย ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพในการทำงาน

การติดต่อกับทีมงาน

งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร.074-287690

งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง

โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โทรศัพท์: 0-7428-7690-1
โทรสาร: 21-1050
Email: usa.sa@psu.ac.th

Search