ให้บริการบำรุงรักษา ซ่อมแซม ติดตั้ง ปรับปรุง ทั้งในส่วนของครุภัณฑ์ งานระบบสาธารณูปโภค งานระบบสนับสนุนทางการแพทย์ ออกแบบ ประมาณการงานปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง และให้บริการยานพาหนะ ด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ ดูแลอาคารสถานที่ ภูมิทัศน์(สิ่งแวดล้อม) ตลอดจนทรัพย์สินของคณะทันตแพทยศาสตร์ เจ้าหน้าที่และผู้รับบริการให้ได้รับความปลอดภัย
- ให้บริการ ซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ งานระบบต่างๆ ภายในหน่วยงานโรงพยาบาล เพื่อสนับสนุนงานให้บริการทางทันตกรรมของโรงพยาบาลให้เป็นไปอย่างคุณภาพ
- งานควบคุมกำกับดูแลงานระบบสาธารณูปโภค และระบบสนับสนุนทางการแพทย์
- งานควบคุมกำกับดูแลความปลอดภัยระบบไฟฟ้าภายในอาคาร และภายนอกอาคาร เพื่อให้ผู้ใช้งานและผู้รับบริการมีความปลอดภัยจากการทำงาน
- ออกแบบ ปรับปรุง ประมาณการติดตั้งงานระบบและงานปรับปรุงสิ่งก่อสร้างภายในโรงพยาบาล
- ให้บริการยานพาหนะ
- ดูแลความปลอดภัย บุคลากร นักศึกษา ผู้รับบริการ การจราจร และทรัพย์สินของโรงพยาบาล
- ดูแลความเรียบร้อยอาคารสถานที่ และภูมิทัศน์
1. ความต้องการของผู้รับบริการภายนอกหน่วยงาน
ผู้รับบริการ | ความต้องการ |
---|---|
– ผู้ป่วย | 1. อุปกรณ์ เครื่องมือ มีความปลอดภัยต่อการเข้ารับบริการ 2. ได้รับความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกด้านการจราจร 3. อาคารสถานที่มีความสะอาด สะดวกต่อการใช้บริการ |
– บริษัท/ร้านค้า ที่ให้บริการซ่อมแซม | 1.ต้องการทราบรายละเอียดของเครื่องมือที่ส่งซ่อม 2. มีช่องทางที่สะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างร้านและผู้ส่งซ่อม 3.ความถูกต้อง ของวัสดุอุปกรณ์ รายการชำรุดที่ชัดเจน คู่มือครุภัณฑ์ที่ส่งซ่อม |
-บุคคลภายนอก | 1. ได้รับข้อมูลเบื้องต้นที่ถูกต้อง และประสานงานได้รวดเร็ว 2. ได้รับบริการยานพาหนะด้วยความปลอดภัย และตรงต่อเวลา |
2. ความต้องการของผู้รับบริการภายในหน่วยงาน
ผู้รับบริการ | ความต้องการ |
---|---|
– เจ้าหน้าที่ทุกคลินิก/หน่วยงาน | 1. ความรวดเร็วในการซ่อมบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ 2. เครื่องมือและอุปกรณ์ได้รับการซ่อมแซม ผ่านการทดสอบความปลอดภัยในการใช้งาน 3. งานซ่อมแซมกรณีเร่งด่วน ได้รับบริการรวดเร็ว ทันเวลา โดยให้หน่วยงานสามารถส่งใบแจ้งซ่อมมาภายหลัง 4. การบำรุงรักษาวัสดุ-ครุภัณฑ์ มีการวางแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตรงเวลา 5. เพิ่มช่องทางในการขอรับบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกในการแจ้งซ่อม 6. อาคารสถานที่มีความสะอาด ปลอดภัย 7. ได้รับความปลอดภัยและความสะดวกด้านการจราจร 8. ได้รับบริการยานพาหนะด้วยความสุภาพ ปลอดภัย และตรงต่อเวลา |
– เจ้าหน้าที่พัสดุ | 1. เอกสารการขอซื้อ-ขอจ้าง ถูกต้องตามขั้นตอนของ พรบ.การจัดซื้อจัดจ้าง 2. แจ้งรายละเอียดของวัสดุ-อุปกรณ์ที่ต้องการซื้อให้ชัดเจน 3. รายการพัสดุที่ส่งซ่อมภายนอก มีรายละเอียดและข้อมูลการชำรุดที่ชัดเจน 4. ความถูกต้องของข้อมูล รูปแบบ รายการ ราคากลาง งานปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง |
– นทพ. | 1. ความรวดเร็วในการให้บริการ 2. อุปกรณ์ เครื่องมือ มีความปลอดภัย ผ่านการทดสอบความปลอดภัยในการใช้งาน 3. ได้รับคำแนะนำ ความรู้ในการใช้งานเครื่องมืออย่างถูกต้อง 4. ได้รับการสนับสนุนในการติดตั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ สำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ 5. อาคารสถานที่มีความสะอาด ปลอดภัย 6. ได้รับความปลอดภัยและความสะดวกด้านการจราจร 7. ได้รับบริการยานพาหนะด้วยความสุภาพ ปลอดภัย และตรงต่อเวลา |
- ความปลอดภัย อุปกรณ์ต่างๆ เมื่อได้รับการซ่อมแซมแล้ว ผู้ใช้มีความปลอดภัยในการใช้งาน
- ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ / unit มีระบบตรวจเช็ค ให้มีความพร้อมใช้
- ความพร้อมใช้ของระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และงานระบบสนับสนุนทางการแพทย์
- ความรวดเร็ว การซ่อมแซมกรณีเร่งด่วนได้รับการซ่อมแซมโดยทันที และภายในเวลาที่กำหนด
- ได้มาตรฐาน ความถูกต้องของข้อมูลรายการปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง มีรายละเอียดครบถ้วน ถูกต้องตามระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระบบโครงสร้างอาคาร / ระบบสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐาน
ความท้าทาย ความเสี่ยงสำคัญ (ประเด็นสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนา)
- ความท้าทาย
- อุปกรณ์เครื่องมือ งานระบบ ได้รับการบำรุงเชิงป้องกันตามแผนงานที่กำหนด
- จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของการซ่อมบำรุงอุปกรณ์/เครื่องมือ โดยมีระบบประกันระยะเวลาซ่อม
- งานประกันระยะเวลาซ่อม
- งานซ่อมเล็ก ซ่อมเสร็จภายใน 1 วัน
- งานซ่อมกลาง แยกเป็น 2 ประเภทคือ
- อุปกรณ์งานซ่อมที่มีวัสดุสำรอง ซ่อมเสร็จภายใน 3 วัน
- อุปกรณ์งานไม่มีวัสดุสำรอง(หลังจากได้รับวัสดุจากการจัดหา)เสร็จภายใน 3 วัน
- งานซ่อมใหญ่ แยกเป็น 2 ประเภทคือ
- งานส่งซ่อมภายนอก(ภายในจังหวัด)เสร็จภายใน 30 วัน
- งานส่งซ่อมภายนอก(ต่างจังหวัด) เสร็จภายใน 90 วัน (เครื่องมือบางชนิด)
- วัสดุ-อุปกรณ์สำหรับการซ่อมแซม เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งาน
- ความพร้อมใช้ของระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และงานระบบสนับสนุนทางการแพทย์
- ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ-จัดจ้าง
- ความรวดเร็วในการเข้าถึงพื้นที่ กรณีฉุกเฉิน
- การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะ
- ความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันความเสี่ยงสำคัญ
- งานประกันระยะเวลาซ่อม
ความเสี่ยง | แนวทางการป้องกันความเสี่ยง |
---|---|
– ไม่สามารถดำเนินการในเชิงรุกเพื่อบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่สำคัญ ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ | – จัดทำแผนการบำรุงรักษา พร้อมคู่มือ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน โดยมอบหมายให้ ช่างรับผิดชอบในงานบำรุงรักษาเฉพาะทุก ๆงาน |
– ซ่อมแล้วไม่พร้อมใช้งานหรือใช้งานไม่ได้ ส่งกลับมาซ่อมใหม่ , ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ | – เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงตรวจสอบเครื่องมือให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน ก่อนส่งมอบ – ติดตามอุบัติการเครื่องมือที่ซ่อมถูกตีกลับ |
– ข้อมูล/ราคากลาง รายการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างไม่ถูกต้องตามพรบ.การจัดซื้อ-จัดจ้าง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจทำให้เจ้าหน้าที่ผู้จัดทำ โดนฟ้องร้อง/รับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ | – ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมความรู้ระเบียบพัสดุ เกี่ยวกับการจัดทำราคากลางและระเบียบที่เกี่ยวข้อง |
– ส่งมอบเครื่องมือที่ได้รับการซ่อม ไม่ทันเวลา | – จัดลำดับความสำคัญของงานที่ขอรับบริการ โดยให้บริการงาน ที่มีผลกระทบต่อการให้บริการผู้ป่วยเป็นอันดับแรก |
– ความรวดเร็วในการเข้าถึงพื้นที่ กรณีฉุกเฉิน | – จัดทำแนวปฏิบัติ และกำหนดระยะเวลาในการจัดการปัญหาในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีผู้โดยสารติดค้างภายในลิฟต์ ,การเข้าระงับเหตุของ รปภ. ,การเข้าจัดการปัญหาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองไม่ทำงาน |
– การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะ | – จัดอบรมให้ความรู้ ก่อนการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน – มีการทดสอบความรู้ ความเข้าใจของแม่บ้าน เกี่ยวกับการจัดการขยะ ก่อน-หลัง การให้ความรู้ – มีการติดตามประเมินผลเดือนละครั้ง |
ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน
- แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน โดยมอบหมายให้ ช่างรับผิดชอบในงานบำรุงรักษา ในทุกๆงาน
- ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมความรู้ เกี่ยวกับการจัดทำราคากลางและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมความรู้ เกี่ยวกับการซ่อมแซม การบำรุงรักษา เครื่องมือเฉพาะทาง
- ให้ความรู้ การจัดการปัญหาในสภาวะฉุกเฉิน เช่นไฟดับ ท่อน้ำประปาแตก และผู้โดยสารติดค้างในลิฟท์
ปริมาณงานและทรัพยากร(คน เทคโนโลยี เครื่องมือ)
- การนำเสนอเรื่องปริมาณงาน และศักยภาพของคน
เดือน | ใบแจ้งซ่อมในแต่ละเดือน | จำนวนใบแจ้งซ่อมสะสม | ซ่อมเสร็จ | งานคงค้าง ในแต่ละเดือน | ร้อยละของปริมาณงานที่ซ่อมเสร็จ |
---|---|---|---|---|---|
มกราคม 66 | 283 | 319 | 280 | 39 | 98.93 |
กุมภาพันธ์ 66 | 269 | 308 | 282 | 26 | 100 |
มีนาคม 66 | 296 | 322 | 273 | 49 | 92.22 |
เมษายน 66 | 174 | 223 | 184 | 39 | 100 |
พฤษภาคม 66 | 236 | 275 | 239 | 36 | 100 |
มิถุนายน 66 | 269 | 305 | 289 | 16 | 100 |
กรกฎาคม 66 | 247 | 263 | 216 | 47 | 87.44 |
สิงหาคม 66 | |||||
กันยายน 66 | |||||
ตุลาคม 66 | |||||
พฤศจิกายน 66 | |||||
ธันวาคม 66 | |||||
รวม | 1,774 | 1,763 |

- การให้บริการยานพาหนะประจำปี 2566
เดือน | รถส่วนงาน ภายในจังหวัด | รถส่วนงาน ต่างจังหวัด | รถเช่า ภายในจังหวัด | รถเช่า ต่างจังหวัด |
---|---|---|---|---|
มกราคม 66 | 103 | 2 | – | – |
กุมภาพันธ์ 66 | 141 | 1 | – | – |
มีนาคม 66 | 109 | 9 | – | 2 |
เมษายน 66 | 72 | 2 | – | – |
พฤษภาคม 66 | 119 | 5 | 2 | 1 |
มิถุนายน 66 | 120 | 10 | – | 1 |
กรกฎาคม 66 | ||||
สิงหาคม 66 | ||||
กันยายน 66 | ||||
ตุลาคม 66 | ||||
พฤศจิกายน 66 | ||||
ธันวาคม 66 | ||||
รวม | 664 | 29 | 2 | 4 |

- รายงาน อุบัติการณ์ ความปลอดภัย และระบบสาธารณูปโภค
เดือน | ทรัพย์สินสูญหายทั้งหมด | ทรัพย์สินสูญหาย ได้รับคืน | อาคารสถานที่/ ระบบสาธารณูปโภค |
---|---|---|---|
มกราคม 66 | 3 | 1 | 3 |
กุมภาพันธ์ 66 | 11 | 7 | 6 |
มีนาคม 66 | 8 | 6 | 4 |
เมษายน 66 | 3 | 3 | 3 |
พฤษภาคม 66 | 1 | 1 | 2 |
มิถุนายน 66 | 1 | 1 | 8 |
กรกฎาคม 66 | 7 | 3 | 2 |
สิงหาคม 66 | |||
กันยายน 66 | |||
ตุลาคม 66 | |||
พฤศจิกายน 66 | |||
ธันวาคม 66 | |||
รวม | 34 | 22 | 28 |
** อุบัติการณ์ด้านอาคารสถานที่/สาธารณูปโภค เช่น ลืมปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น **

ข้อมูลตำแหน่งบุคลกร และจำนวนของหน่วยงาน
ตำแหน่งงาน | ประเภทงาน | จำนวน(คน) | อายุงาน |
---|---|---|---|
– วิศวกร | กำกับดูแล ควบคุม กำหนดแนวทางการทำงาน | 1 2 | >20 ปี <1 ปี |
– ช่างไฟฟ้า – ช่างอิเล็กทรอนิกส์ | ซ่อมแซม บำรุงรักษา เครื่องมือ ระบบไฟฟ้า เครื่องมือทันตกรรม | 3 1 | >20 ปี,>7 ปี >7 ปี |
– ช่างเทคนิค | ซ่อมแซม บำรุงรักษางานระบบ เครื่องมือแพทย์ | 2 1 | >7 ปี >2 ปี |
– บุคลากร ระดับปฏิบัติการ | ดูแล รับผิดชอบ งานบริการกลาง | 1 | >5 ปี |
– พนักงานขับรถยนต์ | ดูแล บำรุงรักษา ให้บริการยานพาหนะ | 4 | >5 ปี |
– เจ้าหน้าที่ รปภ. | ดูแล รักษาความปลอดภัย | 5 | >5 ปี |
– ธุรการ | รับผิดชอบงานด้านเอกสาร การควบคุมการใช้วัสดุและการติดต่อประสานงาน | 1 | >15 ปี |
ข้อมูลอุปกรณ์และเครื่องมือที่สำคัญของหน่วยงาน
เทคโนโลยี อุปกรณ์และเครื่องมือที่สำคัญ | จำนวน | ขนาดรวม | อายุการใช้งาน(ปี) |
---|---|---|---|
ระบบอัดอากาศ | 5 เครื่อง | 201 kW | <7 ปี, <3 ปี, <2 ปี |
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง | 3 เครื่อง | 1,050 kW | 33 ปี, 22 ปี, 5 ปี |
ระบบน้ำประปาสำรอง | 7 ตำแหน่ง | 420,00 ลิตร | 33 ปี, 5ปี |
เครื่องมือทดสอบด้ามกรอฟัน | 1 เครื่อง | 1 ด้ามกรอ | 15 ปี |
ลิฟต์โดยสารและ ลิฟต์ส่งของ | 5 เครื่อง, 1 เครื่อง | 4,750 kg | <3 ปี จำนวน 2 เครื่อง >22 ปี จำนวน 4 เครื่อง |
เครื่องสูบน้ำดับเพลิง | 1 เครื่อง | 500 G.P.M | >30 ปี |
ระบบจ่ายแก๊สกลาง | 1 ระบบ | 60 m3 @ 1,000 psi | 2 ปี |
เครื่องดูดสุญญากาศ | 4 เครื่อง | 400 m3 / h | 4 ปี 2 เครื่อง , 20 ปี 2 เครื่อง |
เครื่องปั๊มน้ำ | 8 เครื่อง | 74 kW | >22 ปี |
ยานพาหนะ -รถตู้ นข.2361 -รถตู้ นข.6169 -รถตู้ นข.8302 -รถตู้ นข.5058 -รถมินิบัส -รถกระบะ -รถบรรทุก 6 ล้อ -รถนั่งส่วนบุคคล | 1 คัน 1 คัน 1 คัน 1 คัน 2 คัน 1 คัน 1 คัน 1 คัน | 12 ที่นั่ง 12 ที่นั่ง 12 ที่นั่ง 12 ที่นั่ง 30 ที่นั่ง 2500 CC 2.3ม.*6.5ม. 7 ที่นั่ง | 19 ปี 13 ปี 7 ปี 13 ปี 18 ปี, 23 ปี 28 ปี 8 ปี 12 ปี |
อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานควบคุมดูแล บำรุงรักษา งานระบบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสนับสนุนภารกิจของโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ประกอบด้วยบุคลากรของงานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง มีการลาออกและเกษียณอายุราชการ จำนวน 4 คนแต่ได้รับการจัดสรรอัตราทดแทนแค่ 2 อัตรา ซึ่งทำให้กำลังคนในการให้บริการไม่เพียงพอ และคนที่ได้รับการจัดสรรใหม่ ขาดความรู้และประสบการณ์ ในการจัดการกับปัญหาในงานระบบซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
งานระบบที่สนับสนุนภารกิจของโรงพยาบาล ปัจจุบันขนาด/กำลังการผลิตที่เพียงพอต่อการให้บริการของโรงพยาบาลทันตกรรมและการเรียนการสอน

- ร้อยละของงานที่ซ่อมแล้วเสร็จในแต่ละเดือนต่องานที่ส่งซ่อมไม่น้อยกว่า 85
- ระดับความพึงพอใจในการให้บริการของแม่บ้านทำความสะอาดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85
- อัตราการ Break Down ของเครื่องมือระบบกลางเท่ากับศูนย์
- อัตราการเกิดเหตุขัดข้องขณะให้บริการยานพาหนะเท่ากันศูนย์
- จำนวนเครื่องมือและอุปกรณ์ของงานระบบ ที่ได้รับการบำรุงรักษาตามแผนที่กำหนด 100%
- อัตราการเกิดอุบัติการณ์ระดับ D (เกิดความคลาดเคลื่อน แต่ไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหาย) เท่ากับ ศูนย์
ลำดับ | รายการ | เป้าหมาย | ปี2564 | ปี2565 | ปี2566 |
---|---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของงานที่ซ่อมเสร็จในแต่ละเดือน ต่องานที่ส่งซ่อม | 85% | 93.28% | 99.7% | 99.37% |
2 | ระดับความพึงพอใจในการให้บริการของแม่บ้านทำความสะอาด | 85% | 86% | 72% | 78.27% |
3 | จำนวนครั้ง Break Down ของเครื่องมือระบบกลาง | 0 | 0 | 1 | 0 |
4 | จำนวนการเกิดเหตุขัดข้องขณะให้บริการยานพาหนะ | 0 | 2 | 0 | 2 |
5 | ร้อยละของเครื่องมือ และอุปกรณ์ในงานระบบที่ได้รับการบำรุงรักษาตามแผนที่ได้กำหนด | 100% | 90& | 86.7% | 81.8% |
6 | อัตราการเกิดอุบัติการณ์ระดับ D (เกิดความคลาดเคลื่อน แต่ไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหาย) เท่ากับศูนย์ | 0 | 0 | 0 | 0 |
การบริหารจัดการเครื่องมือระบบกลาง
งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง มีเครื่องมือ ครุภัณฑ์ ระบบกลางที่สำคัญ จำนวน 22 รายการ
ซึ่งต้องบริหารจัดการดูแล บำรุงรักษาดังนี้
ลำดับ | เครื่องมือ ครุภัณฑ์ ระบบกลางที่สำคัญ | จำนวน |
---|---|---|
1 | ลิฟต์โดยสารและลิฟต์ส่งของ | 6 เครื่อง |
2 | เครื่องอัดอากาศ | 5 เครื่อง |
3 | ปั๊มน้ำระบบสุขาภิบาล | 11 เครื่อง |
4 | ระบบสุญญากาศ | 4 เครื่อง |
5 | ระบบ Pipeline | 1 ระบบ |
6 | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง | 3 เครื่อง |
7 | ระบบควบคุมการจ่ายระบบไฟฟ้า | 2 ระบบ |
8 | เครื่องไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน | 59 เครื่อง |
9 | ระบบโทรศัพท์ | 1 ระบบ |
10 | ระบบควบคุมการไหลเวียนอากาศ | 17 ชุด |
11 | เครื่องปรับอากาศ | 406 เครื่อง |
12 | เครื่องกรองน้ำ | 5 เครื่อง |
13 | ถังเก็บน้ำสำรองใต้อาคารและบริเวณดาดฟ้า | 7 ถัง |
14 | ระบบน้ำบาดาล | 1 ระบบ |
15 | เครื่องกรองสารปรอท | 3 เครื่อง |
16 | ระบบป้องกันเพลิง | 1 เครื่อง |
17 | ถังดับเพลิง | 90 ถัง |
18 | บ่อโสโครก | 16 บ่อ |
19 | คูระบายน้ำฝนและน้ำเสียรอบอาคาร | 500 เมตร |
20 | ตู้ฉีดน้ำตับเพลิง | 37 ตู้ |
21 | ระบบสัญญาณแจ้งเตือนเพลิงไหม้ | 5 ระบบ |
22 | ยานพาหนะ | 9 คัน |
ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- งานซ่อมแซม

- งานบำรุงรักษา

- การให้บริการยานพาหนะ

- ระบบรักษาความปลอดภัย

- การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
เรื่อง | ความคาดหวัง/เป้าหมาย | เวลาดำเนินการ |
---|---|---|
1. การปรับปรุงค่า Coliforms ในระบบน้ำใช้ของโรงพยาบาล ทันตกรรม | – ค่า Coliformsในระบบน้ำใช้ ให้มีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 1.1 MPN/100mL | มี.ค 66 – ก.ย 66 |
2. การปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งของคลินิกทันตกรรมก่อนการส่งไปบำบัด ณ ระบบบำบัดน้ำเสีย | – สามารถรองรับปริมาณน้ำทิ้งได้โดย ไม่ปล่อยน้ำลงคูระบายน้ำก่อนเวลาที่กำหนด – น้ำทิ้งในถังดักสารปรอทไม่ก่อมลพิษ ทางกลิ่น | มี.ค 66-ก.ย 66 |
3. ติดตั้งสัญญาณแจ้งเตือนน้ำล้นคูระบายน้ำบริเวณพื้นที่กำแพงกันดิน อาคาร 3 ผ่านทาง Line App | – เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากน้ำล้นเข้ามาภายในบริเวณลานชั้น B อาคาร 3 | ก.ย 66 – ต.ค 66 |
4. ติดตั้งกล้องวงจรปิด ในพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติม 8 จุด | – เพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินภายในอาคาร ได้รับความเสียหาย | ต.ค 66 – ม.ค 67 |
- แผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) เครื่องมือทางทันตกรรม และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง ระบบปะปา ระบบอัดอากาศ
- จัดทำโปรแกรมขอรับบริการ ภายใต้ระบบ ERP ของคณะฯ ซึ่งสามารถจัดเก็บรายละเอียดการขอรับบริการ และแจ้งข้อมูลให้ผู้รับบริการได้รับทราบความคืบหน้าของงานที่ขอรับบริการ และติดตามงานที่ขอรับบริการได้สะดวก
- แผนปรับปรุงระบบ Heat & Smoke Detector อาคาร 1, 2 เพื่อป้องกันความเสียหายของบุคลากร เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้บริการและทรัพย์สินภายในอาคารจากเหตุเพลิงไหม้ และเป็นไปตามมาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของ วสท. และ พรบ. คุ้มครองอาคาร
- แผนปรับปรุงติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม จากพื้นที่เสี่ยงที่ค้นพบจำนวน 8จุด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อบุคลากร เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้บริการและทรัพย์สินภายในคณะฯ
- จัดทำระบบ E-Cars สำหรับการขอรับบริการขอใช้รถยนต์ จากรูปแบบเดิมที่ใช้กระดาษมาเป็นการใช้บริการแบบระบบดิจิทัล ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ และการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระเบียบมากขึ้น และผู้ใช้บริการสามารถเลือกดูข้อมูลและตรวจสอบความต้องการในการให้บริการได้สะดวก
- ปรับปรุงไฟแสงสว่างฉุกเฉินอาคารโรงพยาบาล เพื่อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ตลอดจนความปลอดภัยของบุคลากร นักศึกษา และผู้รับบริการของคณะทันตแพทยศาสตร์

งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง
โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โทรศัพท์: 0-7428-7690-1
โทรสาร: 21-1050
Email: usa.sa@psu.ac.th