Service Profile

Service Profile
  • 9 พฤศจิกายน 2023
  • 09:32
  • SP
  • 139

บริบท

หน้าที่และเป้าหมาย

ให้บริการบำรุงรักษา ซ่อมแซม ติดตั้ง ปรับปรุง ทั้งในส่วนของครุภัณฑ์ งานระบบสาธารณูปโภค งานระบบสนับสนุนทางการแพทย์ ออกแบบ ประมาณการงานปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง และให้บริการยานพาหนะ ด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ ดูแลอาคารสถานที่ ภูมิทัศน์(สิ่งแวดล้อม) ตลอดจนทรัพย์สินของคณะทันตแพทยศาสตร์ เจ้าหน้าที่และผู้รับบริการให้ได้รับความปลอดภัย

ขอบเขตการให้บริการ

  • ให้บริการ ซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ งานระบบต่างๆ ภายในหน่วยงานโรงพยาบาล เพื่อสนับสนุนงานให้บริการทางทันตกรรมของโรงพยาบาลให้เป็นไปอย่างคุณภาพ
  • งานควบคุมกำกับดูแลงานระบบสาธารณูปโภค และระบบสนับสนุนทางการแพทย์
  • งานควบคุมกำกับดูแลความปลอดภัยระบบไฟฟ้าภายในอาคาร และภายนอกอาคาร เพื่อให้ผู้ใช้งานและผู้รับบริการมีความปลอดภัยจากการทำงาน
  • ออกแบบ ปรับปรุง ประมาณการติดตั้งงานระบบและงานปรับปรุงสิ่งก่อสร้างภายในโรงพยาบาล
  • ให้บริการยานพาหนะ
  • ดูแลความปลอดภัย บุคลากร นักศึกษา ผู้รับบริการ การจราจร และทรัพย์สินของโรงพยาบาล
  • ดูแลความเรียบร้อยอาคารสถานที่ และภูมิทัศน์

ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ (จำแนกตามกลุ่มผู้รับผลงาน)

1. ความต้องการของผู้รับบริการภายนอกหน่วยงาน

ผู้รับบริการความต้องการ
– ผู้ป่วย1. อุปกรณ์ เครื่องมือ มีความปลอดภัยต่อการเข้ารับบริการ 
2. ได้รับความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกด้านการจราจร
3. อาคารสถานที่มีความสะอาด สะดวกต่อการใช้บริการ
– บริษัท/ร้านค้า ที่ให้บริการซ่อมแซม1.ต้องการทราบรายละเอียดของเครื่องมือที่ส่งซ่อม
2. มีช่องทางที่สะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างร้านและผู้ส่งซ่อม
3.ความถูกต้อง ของวัสดุอุปกรณ์ รายการชำรุดที่ชัดเจน  คู่มือครุภัณฑ์ที่ส่งซ่อม
-บุคคลภายนอก1. ได้รับข้อมูลเบื้องต้นที่ถูกต้อง และประสานงานได้รวดเร็ว
2. ได้รับบริการยานพาหนะด้วยความปลอดภัย และตรงต่อเวลา

2. ความต้องการของผู้รับบริการภายในหน่วยงาน

ผู้รับบริการความต้องการ
– เจ้าหน้าที่ทุกคลินิก/หน่วยงาน1. ความรวดเร็วในการซ่อมบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์
2. เครื่องมือและอุปกรณ์ได้รับการซ่อมแซม ผ่านการทดสอบความปลอดภัยในการใช้งาน
3. งานซ่อมแซมกรณีเร่งด่วน ได้รับบริการรวดเร็ว ทันเวลา โดยให้หน่วยงานสามารถส่งใบแจ้งซ่อมมาภายหลัง
4. การบำรุงรักษาวัสดุ-ครุภัณฑ์ มีการวางแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตรงเวลา        5. เพิ่มช่องทางในการขอรับบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกในการแจ้งซ่อม
6. อาคารสถานที่มีความสะอาด ปลอดภัย 
7. ได้รับความปลอดภัยและความสะดวกด้านการจราจร
8. ได้รับบริการยานพาหนะด้วยความสุภาพ ปลอดภัย และตรงต่อเวลา
– เจ้าหน้าที่พัสดุ1. เอกสารการขอซื้อ-ขอจ้าง ถูกต้องตามขั้นตอนของ พรบ.การจัดซื้อจัดจ้าง
2. แจ้งรายละเอียดของวัสดุ-อุปกรณ์ที่ต้องการซื้อให้ชัดเจน
3. รายการพัสดุที่ส่งซ่อมภายนอก มีรายละเอียดและข้อมูลการชำรุดที่ชัดเจน
4. ความถูกต้องของข้อมูล รูปแบบ รายการ ราคากลาง งานปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง
– นทพ.1. ความรวดเร็วในการให้บริการ
2. อุปกรณ์ เครื่องมือ มีความปลอดภัย ผ่านการทดสอบความปลอดภัยในการใช้งาน
3. ได้รับคำแนะนำ ความรู้ในการใช้งานเครื่องมืออย่างถูกต้อง
4. ได้รับการสนับสนุนในการติดตั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ สำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ
5. อาคารสถานที่มีความสะอาด ปลอดภัย 
6. ได้รับความปลอดภัยและความสะดวกด้านการจราจร
7. ได้รับบริการยานพาหนะด้วยความสุภาพ ปลอดภัย และตรงต่อเวลา

ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ (ปลอดภัย พร้อมใช้ รวดเร็ว ได้มาตรฐาน พึงพอใจ)

  • ความปลอดภัย อุปกรณ์ต่างๆ เมื่อได้รับการซ่อมแซมแล้ว ผู้ใช้มีความปลอดภัยในการใช้งาน
  • ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ / unit มีระบบตรวจเช็ค ให้มีความพร้อมใช้
  • ความพร้อมใช้ของระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และงานระบบสนับสนุนทางการแพทย์
  • ความรวดเร็ว การซ่อมแซมกรณีเร่งด่วนได้รับการซ่อมแซมโดยทันที และภายในเวลาที่กำหนด
  • ได้มาตรฐาน ความถูกต้องของข้อมูลรายการปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง มีรายละเอียดครบถ้วน ถูกต้องตามระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระบบโครงสร้างอาคาร / ระบบสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐาน

ความท้าทาย ความเสี่ยงสำคัญ (ประเด็นสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนา)

  • ความท้าทาย
    • อุปกรณ์เครื่องมือ งานระบบ ได้รับการบำรุงเชิงป้องกันตามแผนงานที่กำหนด
    • จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของการซ่อมบำรุงอุปกรณ์/เครื่องมือ โดยมีระบบประกันระยะเวลาซ่อม
      • งานประกันระยะเวลาซ่อม
        • งานซ่อมเล็ก ซ่อมเสร็จภายใน 1 วัน
        • งานซ่อมกลาง แยกเป็น 2 ประเภทคือ
          • อุปกรณ์งานซ่อมที่มีวัสดุสำรอง ซ่อมเสร็จภายใน 3 วัน
          • อุปกรณ์งานไม่มีวัสดุสำรอง(หลังจากได้รับวัสดุจากการจัดหา)เสร็จภายใน 3 วัน
        • งานซ่อมใหญ่ แยกเป็น 2 ประเภทคือ
          • งานส่งซ่อมภายนอก(ภายในจังหวัด)เสร็จภายใน 30 วัน
          • งานส่งซ่อมภายนอก(ต่างจังหวัด) เสร็จภายใน 90 วัน (เครื่องมือบางชนิด)
      • วัสดุ-อุปกรณ์สำหรับการซ่อมแซม เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งาน
      • ความพร้อมใช้ของระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และงานระบบสนับสนุนทางการแพทย์
      • ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ-จัดจ้าง
      • ความรวดเร็วในการเข้าถึงพื้นที่ กรณีฉุกเฉิน
      • การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะ
      • ความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันความเสี่ยงสำคัญ
ความเสี่ยงแนวทางการป้องกันความเสี่ยง
– ไม่สามารถดำเนินการในเชิงรุกเพื่อบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่สำคัญ ในระยะเวลาที่กำหนดไว้– จัดทำแผนการบำรุงรักษา พร้อมคู่มือ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน โดยมอบหมายให้ ช่างรับผิดชอบในงานบำรุงรักษาเฉพาะทุก ๆงาน
– ซ่อมแล้วไม่พร้อมใช้งานหรือใช้งานไม่ได้ ส่งกลับมาซ่อมใหม่ , ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้– เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงตรวจสอบเครื่องมือให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน ก่อนส่งมอบ
– ติดตามอุบัติการเครื่องมือที่ซ่อมถูกตีกลับ
– ข้อมูล/ราคากลาง รายการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างไม่ถูกต้องตามพรบ.การจัดซื้อ-จัดจ้าง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจทำให้เจ้าหน้าที่ผู้จัดทำ โดนฟ้องร้อง/รับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่– ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมความรู้ระเบียบพัสดุ เกี่ยวกับการจัดทำราคากลางและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
– ส่งมอบเครื่องมือที่ได้รับการซ่อม ไม่ทันเวลา– จัดลำดับความสำคัญของงานที่ขอรับบริการ โดยให้บริการงาน ที่มีผลกระทบต่อการให้บริการผู้ป่วยเป็นอันดับแรก
– ความรวดเร็วในการเข้าถึงพื้นที่ กรณีฉุกเฉิน– จัดทำแนวปฏิบัติ  และกำหนดระยะเวลาในการจัดการปัญหาในกรณีฉุกเฉิน  เช่น มีผู้โดยสารติดค้างภายในลิฟต์ ,การเข้าระงับเหตุของ รปภ. ,การเข้าจัดการปัญหาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองไม่ทำงาน
– การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะ– จัดอบรมให้ความรู้ ก่อนการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน
– มีการทดสอบความรู้ ความเข้าใจของแม่บ้าน เกี่ยวกับการจัดการขยะ  ก่อน-หลัง การให้ความรู้
– มีการติดตามประเมินผลเดือนละครั้ง

ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน

  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน โดยมอบหมายให้ ช่างรับผิดชอบในงานบำรุงรักษา ในทุกๆงาน
  • ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมความรู้ เกี่ยวกับการจัดทำราคากลางและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมความรู้ เกี่ยวกับการซ่อมแซม การบำรุงรักษา เครื่องมือเฉพาะทาง
  • ให้ความรู้ การจัดการปัญหาในสภาวะฉุกเฉิน เช่นไฟดับ ท่อน้ำประปาแตก และผู้โดยสารติดค้างในลิฟท์

ปริมาณงานและทรัพยากร(คน เทคโนโลยี เครื่องมือ)

  • การนำเสนอเรื่องปริมาณงาน และศักยภาพของคน
เดือนใบแจ้งซ่อมในแต่ละเดือนจำนวนใบแจ้งซ่อมสะสมซ่อมเสร็จงานคงค้าง
ในแต่ละเดือน
ร้อยละของปริมาณงานที่ซ่อมเสร็จ
มกราคม  662833192803998.93
กุมภาพันธ์  6626930828226100
มีนาคม  662963222734992.22
เมษายน  6617422318439100
พฤษภาคม  6623627523936100
มิถุนายน  6626930528916100
กรกฎาคม  662472632164787.44
สิงหาคม  66
กันยายน  66
ตุลาคม 66
พฤศจิกายน 66
ธันวาคม  66
รวม1,7741,763
  • การให้บริการยานพาหนะประจำปี 2566
เดือนรถส่วนงาน
ภายในจังหวัด
รถส่วนงาน
ต่างจังหวัด
รถเช่า
ภายในจังหวัด
รถเช่า
ต่างจังหวัด
มกราคม  661032
กุมภาพันธ์  661411
มีนาคม  6610992
เมษายน  66722
พฤษภาคม  66119521
มิถุนายน  66120101
กรกฎาคม  66
สิงหาคม  66
กันยายน  66
ตุลาคม 66
พฤศจิกายน 66
ธันวาคม  66
รวม6642924
รวมการให้บริการยานพาหนะ ทั้งหมด 699  ครั้ง
  • รายงาน อุบัติการณ์ ความปลอดภัย และระบบสาธารณูปโภค
เดือนทรัพย์สินสูญหายทั้งหมดทรัพย์สินสูญหาย ได้รับคืนอาคารสถานที่/
ระบบสาธารณูปโภค
มกราคม  66313
กุมภาพันธ์  661176
มีนาคม  66864
เมษายน  66333
พฤษภาคม  66112
มิถุนายน  66118
กรกฎาคม  66732
สิงหาคม  66
กันยายน  66
ตุลาคม 66
พฤศจิกายน 66
ธันวาคม  66
รวม342228
** ทรัพย์สินสูญหาย  เช่น  ชิ้นงาน สมุดคะแนน ด้ามกรอฟัน ของใช้ส่วนตัว **
** อุบัติการณ์ด้านอาคารสถานที่/สาธารณูปโภค เช่น ลืมปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น **

ข้อมูลตำแหน่งบุคลกร และจำนวนของหน่วยงาน

ตำแหน่งงานประเภทงานจำนวน(คน)อายุงาน
– วิศวกรกำกับดูแล ควบคุม กำหนดแนวทางการทำงาน1
2
>20 ปี
<1 ปี
– ช่างไฟฟ้า
– ช่างอิเล็กทรอนิกส์
ซ่อมแซม บำรุงรักษา เครื่องมือ ระบบไฟฟ้า เครื่องมือทันตกรรม3
1
>20 ปี,>7 ปี
>7 ปี
– ช่างเทคนิคซ่อมแซม บำรุงรักษางานระบบ เครื่องมือแพทย์2
1
>7 ปี
>2 ปี
– บุคลากร ระดับปฏิบัติการดูแล รับผิดชอบ งานบริการกลาง1>5 ปี
– พนักงานขับรถยนต์ดูแล บำรุงรักษา ให้บริการยานพาหนะ4>5 ปี
– เจ้าหน้าที่ รปภ.ดูแล รักษาความปลอดภัย5>5 ปี
– ธุรการรับผิดชอบงานด้านเอกสาร การควบคุมการใช้วัสดุและการติดต่อประสานงาน1>15 ปี

ข้อมูลอุปกรณ์และเครื่องมือที่สำคัญของหน่วยงาน

เทคโนโลยี อุปกรณ์และเครื่องมือที่สำคัญจำนวนขนาดรวมอายุการใช้งาน(ปี)
ระบบอัดอากาศ5 เครื่อง201 kW<7 ปี, <3 ปี, <2 ปี
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง3 เครื่อง1,050 kW33 ปี, 22 ปี, 5 ปี
ระบบน้ำประปาสำรอง7 ตำแหน่ง420,00 ลิตร33 ปี, 5ปี
เครื่องมือทดสอบด้ามกรอฟัน1 เครื่อง1 ด้ามกรอ15 ปี
ลิฟต์โดยสารและ
ลิฟต์ส่งของ
5 เครื่อง, 1 เครื่อง4,750 kg<3 ปี จำนวน 2 เครื่อง
>22 ปี จำนวน 4 เครื่อง
เครื่องสูบน้ำดับเพลิง1 เครื่อง500 G.P.M>30 ปี
ระบบจ่ายแก๊สกลาง1 ระบบ60 m3 @ 1,000 psi2 ปี
เครื่องดูดสุญญากาศ4 เครื่อง400 m3 / h4 ปี  2 เครื่อง ,
20 ปี  2 เครื่อง
เครื่องปั๊มน้ำ8 เครื่อง74 kW>22 ปี
ยานพาหนะ
-รถตู้ นข.2361
-รถตู้ นข.6169
-รถตู้ นข.8302
-รถตู้ นข.5058
-รถมินิบัส
-รถกระบะ
-รถบรรทุก 6 ล้อ
-รถนั่งส่วนบุคคล 

1 คัน
1 คัน
1 คัน
1 คัน
2 คัน
1 คัน
1 คัน
1 คัน

12 ที่นั่ง
12 ที่นั่ง
12 ที่นั่ง
12 ที่นั่ง
30 ที่นั่ง
2500 CC
2.3ม.*6.5ม.
7 ที่นั่ง

19 ปี
13 ปี
7 ปี
13 ปี
18 ปี, 23 ปี
28 ปี
8 ปี
12 ปี

อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานควบคุมดูแล บำรุงรักษา งานระบบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสนับสนุนภารกิจของโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ประกอบด้วยบุคลากรของงานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง มีการลาออกและเกษียณอายุราชการ จำนวน 4 คนแต่ได้รับการจัดสรรอัตราทดแทนแค่ 2 อัตรา ซึ่งทำให้กำลังคนในการให้บริการไม่เพียงพอ และคนที่ได้รับการจัดสรรใหม่ ขาดความรู้และประสบการณ์ ในการจัดการกับปัญหาในงานระบบซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้

งานระบบที่สนับสนุนภารกิจของโรงพยาบาล ปัจจุบันขนาด/กำลังการผลิตที่เพียงพอต่อการให้บริการของโรงพยาบาลทันตกรรมและการเรียนการสอน

กระบวนการสำคัญ

ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน

  • ร้อยละของงานที่ซ่อมแล้วเสร็จในแต่ละเดือนต่องานที่ส่งซ่อมไม่น้อยกว่า 85
  • ระดับความพึงพอใจในการให้บริการของแม่บ้านทำความสะอาดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85
  • อัตราการ Break Down ของเครื่องมือระบบกลางเท่ากับศูนย์
  • อัตราการเกิดเหตุขัดข้องขณะให้บริการยานพาหนะเท่ากันศูนย์
  • จำนวนเครื่องมือและอุปกรณ์ของงานระบบ ที่ได้รับการบำรุงรักษาตามแผนที่กำหนด 100%
  • อัตราการเกิดอุบัติการณ์ระดับ D (เกิดความคลาดเคลื่อน แต่ไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหาย) เท่ากับ ศูนย์
ลำดับรายการเป้าหมายปี2564ปี2565ปี2566
1ร้อยละของงานที่ซ่อมเสร็จในแต่ละเดือน ต่องานที่ส่งซ่อม85%93.28%99.7%99.37%
2ระดับความพึงพอใจในการให้บริการของแม่บ้านทำความสะอาด85%86%72%78.27%
3จำนวนครั้ง Break Down ของเครื่องมือระบบกลาง0010
4จำนวนการเกิดเหตุขัดข้องขณะให้บริการยานพาหนะ0202
5ร้อยละของเครื่องมือ และอุปกรณ์ในงานระบบที่ได้รับการบำรุงรักษาตามแผนที่ได้กำหนด100%90&86.7%81.8%
6อัตราการเกิดอุบัติการณ์ระดับ D (เกิดความคลาดเคลื่อน แต่ไม่เป็นอันตราย/ไม่ส่งผลเสียหาย) เท่ากับศูนย์0000

การบริหารจัดการเครื่องมือระบบกลาง
งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง มีเครื่องมือ ครุภัณฑ์ ระบบกลางที่สำคัญ จำนวน 22 รายการ
ซึ่งต้องบริหารจัดการดูแล บำรุงรักษาดังนี้

ลำดับเครื่องมือ ครุภัณฑ์ ระบบกลางที่สำคัญจำนวน
1ลิฟต์โดยสารและลิฟต์ส่งของ6 เครื่อง
2เครื่องอัดอากาศ5 เครื่อง
3ปั๊มน้ำระบบสุขาภิบาล11 เครื่อง
4ระบบสุญญากาศ4 เครื่อง
5ระบบ Pipeline1 ระบบ
6เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง3 เครื่อง
7ระบบควบคุมการจ่ายระบบไฟฟ้า2 ระบบ
8เครื่องไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน59 เครื่อง
9ระบบโทรศัพท์1 ระบบ
10ระบบควบคุมการไหลเวียนอากาศ17 ชุด
11เครื่องปรับอากาศ406 เครื่อง
12เครื่องกรองน้ำ5 เครื่อง
13ถังเก็บน้ำสำรองใต้อาคารและบริเวณดาดฟ้า7 ถัง
14ระบบน้ำบาดาล1 ระบบ
15เครื่องกรองสารปรอท3 เครื่อง
16ระบบป้องกันเพลิง1 เครื่อง
17ถังดับเพลิง90 ถัง
18บ่อโสโครก16 บ่อ
19คูระบายน้ำฝนและน้ำเสียรอบอาคาร500 เมตร
20ตู้ฉีดน้ำตับเพลิง37 ตู้
21ระบบสัญญาณแจ้งเตือนเพลิงไหม้5 ระบบ
22ยานพาหนะ9 คัน

กระบวนการ หรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพ

ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

  • งานซ่อมแซม
  • งานบำรุงรักษา
  • การให้บริการยานพาหนะ
  • ระบบรักษาความปลอดภัย
  • การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
เรื่องความคาดหวัง/เป้าหมายเวลาดำเนินการ
1. การปรับปรุงค่า Coliforms ในระบบน้ำใช้ของโรงพยาบาล         ทันตกรรม– ค่า Coliformsในระบบน้ำใช้ ให้มีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 1.1 MPN/100mLมี.ค 66 – ก.ย 66
2. การปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งของคลินิกทันตกรรมก่อนการส่งไปบำบัด ณ ระบบบำบัดน้ำเสีย– สามารถรองรับปริมาณน้ำทิ้งได้โดย    ไม่ปล่อยน้ำลงคูระบายน้ำก่อนเวลาที่กำหนด
– น้ำทิ้งในถังดักสารปรอทไม่ก่อมลพิษ  ทางกลิ่น
มี.ค 66-ก.ย 66
3. ติดตั้งสัญญาณแจ้งเตือนน้ำล้นคูระบายน้ำบริเวณพื้นที่กำแพงกันดิน อาคาร 3 ผ่านทาง Line App– เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากน้ำล้นเข้ามาภายในบริเวณลานชั้น B          อาคาร 3ก.ย 66 – ต.ค 66
4. ติดตั้งกล้องวงจรปิด ในพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติม 8 จุด– เพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินภายในอาคาร ได้รับความเสียหายต.ค 66 – ม.ค 67

แผนการพัฒนาต่อเนื่อง

  • แผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) เครื่องมือทางทันตกรรม และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง ระบบปะปา ระบบอัดอากาศ
  • จัดทำโปรแกรมขอรับบริการ ภายใต้ระบบ ERP ของคณะฯ ซึ่งสามารถจัดเก็บรายละเอียดการขอรับบริการ และแจ้งข้อมูลให้ผู้รับบริการได้รับทราบความคืบหน้าของงานที่ขอรับบริการ และติดตามงานที่ขอรับบริการได้สะดวก
  • แผนปรับปรุงระบบ Heat & Smoke Detector อาคาร 1, 2 เพื่อป้องกันความเสียหายของบุคลากร เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้บริการและทรัพย์สินภายในอาคารจากเหตุเพลิงไหม้ และเป็นไปตามมาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของ วสท. และ พรบ. คุ้มครองอาคาร
  • แผนปรับปรุงติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม จากพื้นที่เสี่ยงที่ค้นพบจำนวน 8จุด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อบุคลากร เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้บริการและทรัพย์สินภายในคณะฯ
  • จัดทำระบบ E-Cars สำหรับการขอรับบริการขอใช้รถยนต์ จากรูปแบบเดิมที่ใช้กระดาษมาเป็นการใช้บริการแบบระบบดิจิทัล ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ และการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระเบียบมากขึ้น และผู้ใช้บริการสามารถเลือกดูข้อมูลและตรวจสอบความต้องการในการให้บริการได้สะดวก
  • ปรับปรุงไฟแสงสว่างฉุกเฉินอาคารโรงพยาบาล เพื่อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ตลอดจนความปลอดภัยของบุคลากร นักศึกษา และผู้รับบริการของคณะทันตแพทยศาสตร์

งานอาคาร วิศวกรรมและซ่อมบำรุง

โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โทรศัพท์: 0-7428-7690-1
โทรสาร: 21-1050
Email: usa.sa@psu.ac.th

Search